บาลีวันละคำ

ผ้าป่า (บาลีวันละคำ 2,332)

ผ้าป่า

ผ้าที่กู่ไม่กลับ

ผ้าป่า” คำบาลีใช้ว่า “ปํสุกูลจีวร” (ปัง-สุ-กู-ละ-จี-วะ-ระ) อันมีอยู่ในคำถวายผ้าป่าที่ว่า –

“อิมานิ มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, …” แปลว่า “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ …”

ปํสุกูลจีวร” แยกศัพท์เป็น ปํสุกูล + จีวร

(๑) “ปํสุกูล

อ่านว่า ปัง-สุ-กู-ละ ประกอบด้วยคำว่า ปํสุ + กูล

(ก) “ปํสุ” (ปัง-สุ) รากศัพท์มาจาก ปํสฺ (ธาตุ = พินาศ, เสียหาย) + อุ ปัจจัย

: ปํสฺ + อุ = ปํสุ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยังของสวยงามให้เสีย” หมายถึง ฝุ่น, ขยะ, สิ่งสกปรก, ดินร่วน (dust, dirt, soil)

(ข) ปํสุ + กุ (ตัดมาจากศัพท์ว่า “กุจฺฉิต” = น่าเกลียด) + อุลฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, “ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง” คือลบ อุ ที่ กุ (กุ > ) และทีฆะ อุ ที่ อุ-(ลฺ) เป็น อู (อุลฺ > อูล)

: ปํสุ + กุ = ปํสุกุ > ปํสุก + อุลฺ + = ปํสุกุล > ปํสุกูล แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าที่ถึงภาวะที่น่าเกลียดเหมือนฝุ่นละออง” หมายถึง ผ้าเปื้อนฝุ่น, ผ้าจากกองขยะ (rags from a dust heap)

ปํสุกูล” ในภาษาไทยใช้เป็น “บังสุกุล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บังสุกุล : (คำนาม) เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐาน ว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้น ว่า ชักบังสุกุล. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปำสุกูล).”

(๒) “จีวร

บาลีอ่านว่า จี-วะ-ระ รากศัพท์มาจาก จิ (ธาตุ = ก่อ, สะสม) + อีวร ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือ อิ ที่ จิ (จิ > )

: จิ > + อีวร = จีวร แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าอันท่านก่อขึ้นจากท่อนผ้า” หมายความว่า “ผ้าที่เย็บต่อกันเป็นชิ้นๆ

จีวรพระจึงไม่ใช่เนื้อเดียวกันทั้งผืน แต่เป็นผ้าที่เป็นชิ้นๆ เอามาเย็บต่อกันเป็นผืน

ภาษาบาลี “จีวร” หมายถึงผ้าทุกผืนที่พระใช้นุ่งห่ม (the yellow robe of a Buddhist monk or novice)

ในภาษาบาลี “จีวร” หมายถึงผ้าทุกผืนที่พระใช้นุ่งห่ม แต่เรียกแยกออกไปแต่ละชนิด กล่าวคือ –

(1) ผ้านุ่ง เรียก “อันตรวาสก” (อัน-ตะ-ระ-วา-สก) คือที่เราเรียกกันว่า “สบง”

(2) ผ้าห่ม เรียก “อุตตราสงค์” (อุด-ตะ-รา-สง) นี่คือที่เราเรียกกันว่า “จีวร”

(3) ผ้าห่มซ้อน (ผ้าห่มผืนที่สอง) เรียกว่า “สังฆาฏิ” (สัง-คา-ติ)

รวมผ้าทั้ง 3 ผืนเข้าด้วยกันเรียกว่า “ไตรจีวร

ปํสุกูล + จีวร = ปํสุกูลจีวร แปลว่า “จีวรที่สำเร็จด้วยผ้าเปื้อนฝุ่น

ปํสุกูลจีวร” ในภาษาไทยใช้เป็น “บังสุกุลจีวร” หรือ “ผ้าบังสุกุล

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ดังนี้ –

บังสุกุลจีวร : ผ้าที่เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น, ผ้าที่ได้มาจาก กองฝุ่น กองหยากเยื่อซึ่งเขาทิ้งแล้ว ตลอดถึงผ้าห่อคลุมศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ไม่ใช่ผ้าที่ชาวบ้านถวาย, ปัจจุบันมักหมายถึงผ้าที่พระชักจากศพโดยตรงก็ตาม จากสายโยงศพก็ตาม.”

อภิปราย :

เนื่องจากมีพระวินัยพุทธบัญญัติมิให้ภิกษุออกปากขอปัจจัยจากชาวบ้าน (ด้วยเหตุผลที่มุ่งให้เป็นคนกินง่ายอยู่ง่าย ไม่มักมาก และเพื่อฝึกหัดขัดเกลาตนเอง) และแต่เดิมนั้นยังมิได้มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุรับผ้าที่ชาวบ้านถวายโดยตรงเพื่อทำจีวร ตลอดจนจีวรสำเร็จรูปอย่างที่ถวายกันในปัจจุบัน ดังนั้น แหล่งที่ภิกษุจะหาผ้าได้ตามสภาพสังคมในชมพูทวีปยุคพุทธกาล ก็คือกองขยะอันมีของที่เขาทิ้งแล้วรวมทั้งผ้าด้วย

ต่อมา ชาวบ้านที่เข้าใจวิถีชีวิตของพระสงฆ์และรู้วิธีที่ท่านแสวงหาผ้า ปรารถนาจะสงเคราะห์มิให้ท่านต้องหาผ้าได้อย่างลำบาก จึงทำอุบายเอาผ้าไปวางไว้กับพื้นดินบ้าง พาดไว้กับกิ่งไม้บ้าง เป็นทีว่าเป็นของทิ้งแล้ว ตามที่หรือตามทางที่รู้ว่าพระท่านมักจะไป หรือจะผ่านเพื่อไปแสวงหาผ้า เมื่อพระไปเห็นเข้าและแน่ใจว่าไม่มีเจ้าของแน่แล้ว ท่านก็จะ “ชัก” คือเก็บเอาไป คำที่พระรุ่นเก่าๆ ท่านพูดกัน ยังเรียกว่า “ชักผ้า” (ชัก– ช ช้าง)

และสมัยก่อน ที่ที่พระอยู่หรือทางที่พระผ่านเสมอก็มักจะเป็นป่า ชาวบ้านก็นิยมเอาผ้าไปทอดดักทางพระไว้ตามป่า ภาษาไทยจับเอาลักษณะที่ทำกันเช่นนั้นมาเรียก “ผ้าบังสุกุล” ว่า “ผ้าป่า

ผ้าบังสุกุล” กับ “ผ้าป่า” จึงเป็นผ้าอย่างเดียวกัน คำบาลีเรียก “บังสุกุลจีวร” หรือ “ผ้าบังสุกุล” คำไทยเรียก “ผ้าป่า

แต่ความเข้าใจของคนในปัจจุบัน “ผ้าบังสุกุล” กับ “ผ้าป่า” เป็นคนละอย่างกันไปแล้ว

เวลากล่าวคำถวาย “ผ้าป่า” บอกว่าถวาย “ผ้าบังสุกุล

เวลาพูดว่า ทอด “ผ้าบังสุกุล” บอกว่าเป็นผ้าในงานศพ ไม่ใช่ “ผ้าป่า

ทุกวันนี้ “ผ้าบังสุกุล” คือผ้าที่ทอดในงานศพ นับตั้งแต่ตอนสวดพระอภิธรรม สวดมาติกา จนถึงก่อนที่จะเผาศพ ตลอดจนในการบำเพ็ญกุศลปรารภถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งมักพูดกันสั้นๆ ว่า “ทอดผ้า” คำเต็มว่า “ทอดผ้าบังสุกุล

และ “ผ้าบังสุกุล” ในเวลานี้ก็ไม่มีใครรู้หรือเข้าใจอีกต่อไปว่าคือ “ผ้าป่า” ที่ทำกันมาแต่ครั้งพุทธกาลนั่นเอง

ผ้าป่า” ที่เรียกมาจาก “ผ้าบังสุกุล” นั้น แม้ต้นกำเนิดจะไม่เกี่ยวกับงานศพ เพราะเกิดจากการที่ชาวบ้านปรารถนาจะสงเคราะห์พระให้ได้ผ้าไปทำจีวรเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากป่าช้าเป็นแหล่งที่สามารถหาผ้าได้อีกแหล่งหนึ่ง นั่นคือผ้าห่อศพหรือแม้กระทั่งผ้าที่อยู่กับตัวศพนั้นเอง ชาวบ้านที่ปรารถนาจะสงเคราะห์พระ เมื่อญาติตายก็ถือโอกาสเอาผ้าทอดไว้กับศพ พระที่มาแสวงหาผ้าตามป่าช้าได้พิจารณาศพเป็นการเจริญอสุภกรรมฐานและชักผ้าจากศพไปทำจีวรได้ด้วย “ผ้าบังสุกุล” ซึ่งแต่เดิมหมายถึงผ้าที่ทิ้งอยู่ตามที่ทั่วไปโดยเฉพาะตามกองขยะ จึงเข้าไปเกี่ยวกับศพได้ด้วยเหตุนี้

แต่ในสังคมไทย “ผ้าป่า” ไม่เกี่ยวกับงานศพแต่ประการใด “ผ้าบังสุกุล” กับ “ผ้าป่า” ซึ่งมีกำเนิดอย่างเดียวกัน จึงถูกแยกจากกัน และห่างออกจากกันจนกู่ไม่กลับ

ผ้าป่า” ของเดิมแท้นั้นเมื่อทอดเรียบร้อยแล้วเจ้าของจะไม่แสดงตัว แต่ก็มักจะซุ่มซ่อนอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้นจนกว่าจะมีพระมาชักผ้าป่า ได้เห็นผลทานของตนแล้วจึงกลับไป

ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของผ้าป่าก็คือ เป็นของที่ไม่มีเจ้าของ ดังคำพิจารณาผ้าป่าของเดิมว่า

อิมํ  วตฺถํ  อสฺสามิกํ  ปํสุกูลจีวรํ  มยฺหํ  ปาปุณาติ

แปลว่า “ผ้านี้ไม่มีเจ้าของ เป็นผ้าบังสุกุล ย่อมถึงแก่เรา

(ตามหลักก็ต้องว่าถึง ๓ ครั้ง คือมี  ทุติยมฺปิ  ตติยมฺปิ  ด้วย เป็นการย้ำยืนยันให้แน่ใจ)

ผ้าป่าของเดิมแท้จึงไม่ต้องกล่าวคำถวาย เพราะไม่มีเจ้าของปรากฏตัวให้เห็น

แต่ผ้าป่าที่ทำกันทุกวันนี้ กลายไปจากของเดิมหมดแล้ว คือเป็นของที่มีเจ้าของ เจ้าของก็ปรากฏตัวอยู่ตรงนั้นเอง ซ้ำยังมีกล่าวคำถวายอีกด้วย ยังเหลือแต่ชื่อที่เรียก “ผ้าป่า” เท่านั้น นอกนั้นกู่ไม่กลับแล้ว

คำชักผ้าป่าที่พระท่าน “ว่า” กันในทุกวันนี้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่เพี้ยนจนกู่ไม่กลับ คือพระในปัจจุบันนี้เวลาชักผ้าป่าท่านจะว่า

อนิจฺจา  วต  สงฺขารา

อุปฺปาทวยธมฺมิโน

อุปฺปชฺชิตฺวา  นิรุชฺฌนฺติ

เตสํ  วูปสโม  สุโข.

แปลความว่า

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ

มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา

บังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป

เข้าไปสงบสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นสุข

จะเห็นได้ว่าเป็นข้อความปลงธรรมสังเวช ที่ใช้ในเวลาพิจารณาศพเป็นการเจริญอสุภกรรมฐาน ไม่เกี่ยวกับผ้าป่าเลย (ทราบว่าพระที่ท่านใช้คำชักผ้าป่าตามแบบเดิมก็ยังมีอยู่บ้าง – กราบอนุโมทนาสาธุ)

นอกจากรูปแบบจะกลายจากของเดิมแล้ว ความมุ่งหมายหรือความประสงค์ของ “ผ้าป่า” ก็กลายไปมากจนกู่ไม่กลับไปอีกเรื่องหนึ่ง

คือของเดิมมุ่งจะถวายผ้าเพื่อสงเคราะห์พระ เดี๋ยวนี้เอาวิธีทอดผ้าป่ามามุ่งหาเงินหรือหาสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ เช่น ทอดผ้าป่าหนังสือ ทอดผ้าป่าเก้าอี้ ทอดผ้าป่ากระเบื้อง ฯลฯ สุดแต่ว่าต้องการจะระดมเพื่อให้ได้อะไรมา ก็เรียกกันว่า “ผ้าป่า” ไปทั้งนั้น

คือตั้งวัตถุประสงค์ได้ทุกอย่าง ยกเว้นอย่างเดียว-เพื่อการสงเคราะห์พระด้วยผ้า อันเป็นวัตถุประสงค์เดิม

จึงกล่าวได้ว่า ทุกวันนี้ “ผ้าป่า” เหลือแต่เปลือก แต่เนื้อในกู่ไม่กลับแล้ว

…………..

บาลีวันละคำชุด:-

: ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา

: ช่วยกันรู้ภาษาพระธรรมวินัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: หลับตาทำบุญ ก็ได้บุญ

: แต่ลืมตาทำบุญ ได้มากกว่าบุญ

#บาลีวันละคำ (2,332)

31-10-61

ผ้าป่า

ผ้าที่กู่ไม่กลับ

ผ้าป่า” คำบาลีใช้ว่า “ปํสุกูลจีวร” (ปัง-สุ-กู-ละ-จี-วะ-ระ) อันมีอยู่ในคำถวายผ้าป่าที่ว่า –

“อิมานิ มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, …” แปลว่า “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ …”

ปํสุกูลจีวร” แยกศัพท์เป็น ปํสุกูล + จีวร

(๑) “ปํสุกูล

อ่านว่า ปัง-สุ-กู-ละ ประกอบด้วยคำว่า ปํสุ + กูล

(ก) “ปํสุ” (ปัง-สุ) รากศัพท์มาจาก ปํสฺ (ธาตุ = พินาศ, เสียหาย) + อุ ปัจจัย

: ปํสฺ + อุ = ปํสุ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยังของสวยงามให้เสีย” หมายถึง ฝุ่น, ขยะ, สิ่งสกปรก, ดินร่วน (dust, dirt, soil)

(ข) ปํสุ + กุ (ตัดมาจากศัพท์ว่า “กุจฺฉิต” = น่าเกลียด) + อุลฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, “ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง” คือลบ อุ ที่ กุ (กุ > ) และทีฆะ อุ ที่ อุ-(ลฺ) เป็น อู (อุลฺ > อูล)

: ปํสุ + กุ = ปํสุกุ > ปํสุก + อุลฺ + = ปํสุกุล > ปํสุกูล แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าที่ถึงภาวะที่น่าเกลียดเหมือนฝุ่นละออง” หมายถึง ผ้าเปื้อนฝุ่น, ผ้าจากกองขยะ (rags from a dust heap)

ปํสุกูล” ในภาษาไทยใช้เป็น “บังสุกุล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บังสุกุล : (คำนาม) เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐาน ว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้น ว่า ชักบังสุกุล. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปำสุกูล).”

(๒) “จีวร

บาลีอ่านว่า จี-วะ-ระ รากศัพท์มาจาก จิ (ธาตุ = ก่อ, สะสม) + อีวร ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือ อิ ที่ จิ (จิ > )

: จิ > + อีวร = จีวร แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าอันท่านก่อขึ้นจากท่อนผ้า” หมายความว่า “ผ้าที่เย็บต่อกันเป็นชิ้นๆ

จีวรพระจึงไม่ใช่เนื้อเดียวกันทั้งผืน แต่เป็นผ้าที่เป็นชิ้นๆ เอามาเย็บต่อกันเป็นผืน

ภาษาบาลี “จีวร” หมายถึงผ้าทุกผืนที่พระใช้นุ่งห่ม (the yellow robe of a Buddhist monk or novice)

ในภาษาบาลี “จีวร” หมายถึงผ้าทุกผืนที่พระใช้นุ่งห่ม แต่เรียกแยกออกไปแต่ละชนิด กล่าวคือ –

(1) ผ้านุ่ง เรียก “อันตรวาสก” (อัน-ตะ-ระ-วา-สก) คือที่เราเรียกกันว่า “สบง”

(2) ผ้าห่ม เรียก “อุตตราสงค์” (อุด-ตะ-รา-สง) นี่คือที่เราเรียกกันว่า “จีวร”

(3) ผ้าห่มซ้อน (ผ้าห่มผืนที่สอง) เรียกว่า “สังฆาฏิ” (สัง-คา-ติ)

รวมผ้าทั้ง 3 ผืนเข้าด้วยกันเรียกว่า “ไตรจีวร

ปํสุกูล + จีวร = ปํสุกูลจีวร แปลว่า “จีวรที่สำเร็จด้วยผ้าเปื้อนฝุ่น

ปํสุกูลจีวร” ในภาษาไทยใช้เป็น “บังสุกุลจีวร” หรือ “ผ้าบังสุกุล

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ดังนี้ –

บังสุกุลจีวร : ผ้าที่เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น, ผ้าที่ได้มาจาก กองฝุ่น กองหยากเยื่อซึ่งเขาทิ้งแล้ว ตลอดถึงผ้าห่อคลุมศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ไม่ใช่ผ้าที่ชาวบ้านถวาย, ปัจจุบันมักหมายถึงผ้าที่พระชักจากศพโดยตรงก็ตาม จากสายโยงศพก็ตาม.”

อภิปราย :

เนื่องจากมีพระวินัยพุทธบัญญัติมิให้ภิกษุออกปากขอปัจจัยจากชาวบ้าน (ด้วยเหตุผลที่มุ่งให้เป็นคนกินง่ายอยู่ง่าย ไม่มักมาก และเพื่อฝึกหัดขัดเกลาตนเอง) และแต่เดิมนั้นยังมิได้มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุรับผ้าที่ชาวบ้านถวายโดยตรงเพื่อทำจีวร ตลอดจนจีวรสำเร็จรูปอย่างที่ถวายกันในปัจจุบัน ดังนั้น แหล่งที่ภิกษุจะหาผ้าได้ตามสภาพสังคมในชมพูทวีปยุคพุทธกาล ก็คือกองขยะอันมีของที่เขาทิ้งแล้วรวมทั้งผ้าด้วย

ต่อมา ชาวบ้านที่เข้าใจวิถีชีวิตของพระสงฆ์และรู้วิธีที่ท่านแสวงหาผ้า ปรารถนาจะสงเคราะห์มิให้ท่านต้องหาผ้าได้อย่างลำบาก จึงทำอุบายเอาผ้าไปวางไว้กับพื้นดินบ้าง พาดไว้กับกิ่งไม้บ้าง เป็นทีว่าเป็นของทิ้งแล้ว ตามที่หรือตามทางที่รู้ว่าพระท่านมักจะไป หรือจะผ่านเพื่อไปแสวงหาผ้า เมื่อพระไปเห็นเข้าและแน่ใจว่าไม่มีเจ้าของแน่แล้ว ท่านก็จะ “ชัก” คือเก็บเอาไป คำที่พระรุ่นเก่าๆ ท่านพูดกัน ยังเรียกว่า “ชักผ้า” (ชัก– ช ช้าง)

และสมัยก่อน ที่ที่พระอยู่หรือทางที่พระผ่านเสมอก็มักจะเป็นป่า ชาวบ้านก็นิยมเอาผ้าไปทอดดักทางพระไว้ตามป่า ภาษาไทยจับเอาลักษณะที่ทำกันเช่นนั้นมาเรียก “ผ้าบังสุกุล” ว่า “ผ้าป่า

ผ้าบังสุกุล” กับ “ผ้าป่า” จึงเป็นผ้าอย่างเดียวกัน คำบาลีเรียก “บังสุกุลจีวร” หรือ “ผ้าบังสุกุล” คำไทยเรียก “ผ้าป่า

แต่ความเข้าใจของคนในปัจจุบัน “ผ้าบังสุกุล” กับ “ผ้าป่า” เป็นคนละอย่างกันไปแล้ว

เวลากล่าวคำถวาย “ผ้าป่า” บอกว่าถวาย “ผ้าบังสุกุล

เวลาพูดว่า ทอด “ผ้าบังสุกุล” บอกว่าเป็นผ้าในงานศพ ไม่ใช่ “ผ้าป่า

ทุกวันนี้ “ผ้าบังสุกุล” คือผ้าที่ทอดในงานศพ นับตั้งแต่ตอนสวดพระอภิธรรม สวดมาติกา จนถึงก่อนที่จะเผาศพ ตลอดจนในการบำเพ็ญกุศลปรารภถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งมักพูดกันสั้นๆ ว่า “ทอดผ้า” คำเต็มว่า “ทอดผ้าบังสุกุล

และ “ผ้าบังสุกุล” ในเวลานี้ก็ไม่มีใครรู้หรือเข้าใจอีกต่อไปว่าคือ “ผ้าป่า” ที่ทำกันมาแต่ครั้งพุทธกาลนั่นเอง

ผ้าป่า” ที่เรียกมาจาก “ผ้าบังสุกุล” นั้น แม้ต้นกำเนิดจะไม่เกี่ยวกับงานศพ เพราะเกิดจากการที่ชาวบ้านปรารถนาจะสงเคราะห์พระให้ได้ผ้าไปทำจีวรเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากป่าช้าเป็นแหล่งที่สามารถหาผ้าได้อีกแหล่งหนึ่ง นั่นคือผ้าห่อศพหรือแม้กระทั่งผ้าที่อยู่กับตัวศพนั้นเอง ชาวบ้านที่ปรารถนาจะสงเคราะห์พระ เมื่อญาติตายก็ถือโอกาสเอาผ้าทอดไว้กับศพ พระที่มาแสวงหาผ้าตามป่าช้าได้พิจารณาศพเป็นการเจริญอสุภกรรมฐานและชักผ้าจากศพไปทำจีวรได้ด้วย “ผ้าบังสุกุล” ซึ่งแต่เดิมหมายถึงผ้าที่ทิ้งอยู่ตามที่ทั่วไปโดยเฉพาะตามกองขยะ จึงเข้าไปเกี่ยวกับศพได้ด้วยเหตุนี้

แต่ในสังคมไทย “ผ้าป่า” ไม่เกี่ยวกับงานศพแต่ประการใด “ผ้าบังสุกุล” กับ “ผ้าป่า” ซึ่งมีกำเนิดอย่างเดียวกัน จึงถูกแยกจากกัน และห่างออกจากกันจนกู่ไม่กลับ

ผ้าป่า” ของเดิมแท้นั้นเมื่อทอดเรียบร้อยแล้วเจ้าของจะไม่แสดงตัว แต่ก็มักจะซุ่มซ่อนอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้นจนกว่าจะมีพระมาชักผ้าป่า ได้เห็นผลทานของตนแล้วจึงกลับไป

ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของผ้าป่าก็คือ เป็นของที่ไม่มีเจ้าของ ดังคำพิจารณาผ้าป่าของเดิมว่า

อิมํ  วตฺถํ  อสฺสามิกํ  ปํสุกูลจีวรํ  มยฺหํ  ปาปุณาติ

แปลว่า “ผ้านี้ไม่มีเจ้าของ เป็นผ้าบังสุกุล ย่อมถึงแก่เรา

(ตามหลักก็ต้องว่าถึง ๓ ครั้ง คือมี  ทุติยมฺปิ  ตติยมฺปิ  ด้วย เป็นการย้ำยืนยันให้แน่ใจ)

ผ้าป่าของเดิมแท้จึงไม่ต้องกล่าวคำถวาย เพราะไม่มีเจ้าของปรากฏตัวให้เห็น

แต่ผ้าป่าที่ทำกันทุกวันนี้ กลายไปจากของเดิมหมดแล้ว คือเป็นของที่มีเจ้าของ เจ้าของก็ปรากฏตัวอยู่ตรงนั้นเอง ซ้ำยังมีกล่าวคำถวายอีกด้วย ยังเหลือแต่ชื่อที่เรียก “ผ้าป่า” เท่านั้น นอกนั้นกู่ไม่กลับแล้ว

คำชักผ้าป่าที่พระท่าน “ว่า” กันในทุกวันนี้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่เพี้ยนจนกู่ไม่กลับ คือพระในปัจจุบันนี้เวลาชักผ้าป่าท่านจะว่า

อนิจฺจา  วต  สงฺขารา

อุปฺปาทวยธมฺมิโน

อุปฺปชฺชิตฺวา  นิรุชฺฌนฺติ

เตสํ  วูปสโม  สุโข.

แปลความว่า

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ

มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา

บังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป

เข้าไปสงบสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นสุข

จะเห็นได้ว่าเป็นข้อความปลงธรรมสังเวช ที่ใช้ในเวลาพิจารณาศพเป็นการเจริญอสุภกรรมฐาน ไม่เกี่ยวกับผ้าป่าเลย (ทราบว่าพระที่ท่านใช้คำชักผ้าป่าตามแบบเดิมก็ยังมีอยู่บ้าง – กราบอนุโมทนาสาธุ)

นอกจากรูปแบบจะกลายจากของเดิมแล้ว ความมุ่งหมายหรือความประสงค์ของ “ผ้าป่า” ก็กลายไปมากจนกู่ไม่กลับไปอีกเรื่องหนึ่ง

คือของเดิมมุ่งจะถวายผ้าเพื่อสงเคราะห์พระ เดี๋ยวนี้เอาวิธีทอดผ้าป่ามามุ่งหาเงินหรือหาสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ เช่น ทอดผ้าป่าหนังสือ ทอดผ้าป่าเก้าอี้ ทอดผ้าป่ากระเบื้อง ฯลฯ สุดแต่ว่าต้องการจะระดมเพื่อให้ได้อะไรมา ก็เรียกกันว่า “ผ้าป่า” ไปทั้งนั้น

คือตั้งวัตถุประสงค์ได้ทุกอย่าง ยกเว้นอย่างเดียว-เพื่อการสงเคราะห์พระด้วยผ้า อันเป็นวัตถุประสงค์เดิม

จึงกล่าวได้ว่า ทุกวันนี้ “ผ้าป่า” เหลือแต่เปลือก แต่เนื้อในกู่ไม่กลับแล้ว

…………..

บาลีวันละคำชุด:-

: ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา

: ช่วยกันรู้ภาษาพระธรรมวินัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: หลับตาทำบุญ ก็ได้บุญ

: แต่ลืมตาทำบุญ ได้มากกว่าบุญ

#บาลีวันละคำ (2,332)

31-10-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *