บาลีวันละคำ

อาณาราษฎร (บาลีวันละคำ 2,519)

อาณาราษฎร

อ่านว่า อา-นา-ราด-สะ-ดอน

ประกอบด้วยคำว่า อาณา + ราษฎร

(๑) “อาณา

เป็นรูปคำบาลี อ่านว่า อา-นา รากศัพท์มาจาก อาณฺ (ธาตุ = ส่งไป) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: อาณฺ + = อาณ + อา = อาณา แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องส่งไป” ขยายความว่า “ส่งคำสั่งไปประกาศให้รู้และให้ปฏิบัติตาม” หมายถึง คำสั่ง, ข้อบังคับ, การบังคับบัญชา, การสั่ง, อำนาจ (order, command, authority)

อาณา” สันสกฤตเป็น “อาชฺญา” อ่านว่า อาด-ยา (เสียงที่น่าจะใกล้เคียงที่สุดคือ อาด-เชีย) เอามาใช้ในภาษาไทยจึงมักออกเสียงตามสะดวกลิ้นไทยว่า อาด-ชะ-ยา

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อาชฺญา : (คำนาม) คำสั่ง, บัญชา; an order, a command.”

นอกจากปรับเสียงแล้วเรายังปรับรูปเป็น “อาญา” อีกรูปหนึ่ง ในภาษาไทยจึงมีใช้ทั้ง “อาณา” “อาชญา” และ “อาญา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายแต่ละคำไว้ดังนี้ –

(๑) อาณา : (คำนาม) อํานาจปกครอง เช่น อาณาบริเวณ. (ป.; ส. อาชฺญา).

(๒) อาชญา : (คำนาม) อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา).

(๓) อาญา : (คำนาม) อำนาจ; โทษ (มักใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาญา. (ป. อาณา; ส. อาชฺญา).

(๒) “ราษฎร

รูปคำเดิมในบาลีเป็น “รฏฺฐ” อ่านว่า รัด-ถะ รากศัพท์มาจาก –

(1) รฐฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ฐต เป็น ฏฐ

: รฐฺ + = รฐต > รฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นที่เป็นไปแห่งชาวเมือง

(2) รชิ (ธาตุ = เจาะ, ทำลาย) + ปัจจัย, ลบสระท้ายธาตุ, แปลง ชต เป็น ฏฐ

: รชิ > รช + = รชต > รฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นเหตุให้พระราชาทั้งหลายทำลายป้อมค่ายกัน” (ในการเข้ายื้อแย่งเพื่อยึดครองดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง)

รฏฺฐ” ความหมายที่เข้าใจกันก็คือ ดินแดน, อาณาจักร, ประเทศ, แผ่นดิน, บ้านเมือง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “รฏฺฐ” ว่า reign, kingdom, empire; country, realm (รัฐ, อาณาจักร, จักรวรรดิ, ประเทศ, แผ่นดิน)

บาลี “รฏฺฐ” สันสกฤตเป็น “ราษฺฏฺร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ราษฺฏฺร : (คำนาม) ประเทศ; ราษฎร, ประชา; ชนวิบัททั่วไป; a realm or region, a country; the people; any public calamity.”

แม้ “ราษฎร” (ราษฺฏฺร) จะเป็นคำเดียวกับ “รัฐ” (รฏฺฐ) แต่ในภาษาไทยแยกความหมายกันชัดเจน

ในภาษาไทย ท่านให้ตัด ปฏัก ออก “รฏฺฐ” จึงเขียนเป็น“รัฐ” และสะกดตามสันสกฤตเป็น “ราษฎร” และ “ราษฎร์” (ใส่การันต์ที่ –ร์)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) รัฐ, รัฐ– [รัด, รัดถะ-] : (คำนาม) แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺฐ; ส. ราษฺฏฺร).

(2) ราษฎร, ราษฎร์ ๑ [ราดสะดอน, ราด] : (คำนาม) พลเมืองของประเทศ. (ส.).

(3) ราษฎร์ ๒ : (คำนาม) แว่นแคว้น, บ้านเมือง. (ส.; ป. รฏฺฐ).

โปรดสังเกตในพจนานุกรม :

๑ เขียน “รัฐ” อ่านว่า รัด (ไม่ใช่ รัด-ถะ) เขียน “รัฐ-” (มีขีด- ท้าย) หมายถึงกรณีที่มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า รัด-ถะ- เช่น รัฐบาล อ่านว่า รัด-ถะ-บาน ไม่ใช่ รัด-บาน

๒ เขียน “ราษฎร” อ่านว่า ราด-สะ-ดอน เขียน “ราษฎร์” (การันต์ที่ ) อ่านว่า ราด

๓ “ราษฎร” (ราด-สะ-ดอน) หมายถึงพลเมืองของประเทศ ไม่ได้หมายถึงแว่นแคว้น, บ้านเมือง แต่ “ราษฎร์” (ราด) หมายถึงพลเมืองของประเทศด้วย หมายถึงแว่นแคว้น, บ้านเมืองด้วย

อาณา + ราษฎร = อาณาราษฎร (อา-นา-ราด-สะ-ดอน)

อภิปราย :

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562 ว่า –

…………..

“เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”

…………..

โปรดสังเกตว่า ในพระปฐมบรมราชโองการใช้คำว่า “อาณาราษฎร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำที่เกี่ยวข้องและควรทราบ ดังนี้ –

(1) “อาณา” หมายถึง อำนาจปกครอง

(2) “ประชา” หมายถึง หมู่คน เช่น ปวงประชา

(3) “ประชาชน” หมายถึง พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช

(4) “ประชาราษฎร์” (ปฺระ-ชา-ราด) หมายถึง พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช

(5) “ราษฎร” (ราด-สะ-ดอน) หมายถึง พลเมืองของประเทศ

(6), “ราษฎร์” (ราด) หมายถึง พลเมืองของประเทศ; แว่นแคว้น, บ้านเมือง

(7) “อาณาประชาราษฎร์” (อา-นา-ปฺระ-ชา-ราด) หมายถึง พลเมืองที่อยู่ในอํานาจปกครอง

ในพจนานุกรมฯ ไม่ได้เก็บคำว่า “อาณาราษฎร” ไว้

คำที่มีความหมายตรงกันก็คือ “อาณาประชาราษฎร์” “ประชา” กับ “ราษฎร์” มีความหมายอย่างเดียวกัน “ประชาราษฎร์” จึงเข้าลักษณะคำซ้ำซ้อนซึ่งเป็นเรื่องปกติในภาษาไทย

อาณาประชาราษฎร์” ตัด “ประชา” ออก ก็จะเป็น “อาณาราษฎร์” (อา-นา-ราด) ไม่ใส่การันต์ที่ –ร์ ก็จะเป็น “อาณาราษฎร” (อา-นา-ราด-สะ-ดอน) ตรงตามคำในพระปฐมบรมราชโองการ

ที่ว่ามานี้ก็คือพยายามจะอธิบายว่า คำว่า “อาณาราษฎร” ควรจะมีที่ไปที่มาอย่างไร

…………..

แถม :

มีข้อที่ควรระวังอย่างยิ่งคือ ข้อความในพระปฐมบรมราชโองการนั้น เมื่อจะนำไปอ้างอิงหรือกล่าวถึง ต้องคงถ้อยคำให้ตรงตามที่ได้ตรัสไว้ทุกตัวอักษร

เทียบกับพระปฐมบรมราชโองการในรัชกาลที่ 9 ที่ว่า –

เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

ถ้านำไปอ้าง ก็ต้องอ้างให้ตรงตามนี้ อย่าให้ผิดเพี้ยน เช่น –

เราจะครอง” พูดหรือเขียนเป็น “เราจะปกครอง

ประโยชน์สุขแห่งมหาชน” พูดหรือเขียนเป็น “ประโยชน์สุขของมหาชน

มหาชนชาวสยาม” พูดหรือเขียนเป็น “มหาชนชาวไทย” หรือ “ประชาชนชาวสยาม

ดังนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง ฉันใด

พระปฐมบรมราชโองการในรัชกาลที่ 10 เมื่อจะนำไปอ้างอิงหรือกล่าวถึง ก็ต้องอ้างให้ตรงตามนั้น อย่าให้ผิดเพี้ยน ฉันนั้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อยู่ในอำนาจปกครองของผู้มีธรรมะ

: ประเสริฐกว่าเป็นคนอิสระที่ตกอยู่ในอำนาจกิเลสตัวเอง

#บาลีวันละคำ (2,519)

6-5-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย