บาลีวันละคำ

ประมวล (บาลีวันละคำ 2,526)

ประมวล

คำที่สมควรจับบวช

อ่านว่า ปฺระ-มวน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประมวล : (คำกริยา) รวบรวมให้เข้าระเบียบเป็นหมวดหมู่, โบราณเขียนเป็น ประมวญ ก็มี. (คำนาม) หนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ประมวลกฎหมาย ประมวลภาพ.”

พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่า “ประมวล” เป็นภาษาอะไรหรือมาจากภาษาอะไร

ผู้เขียนบาลีวันละคำสันนิษฐานว่า “ประมวล” น่าจะมาจาก + มูล ในบาลี

(๑) “” (ปะ) เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก)

(๒) “มูล” บาลีอ่านว่า มู-ละ รากศัพท์มาจาก มูลฺ (ธาตุ = ตั้งอยู่, งอกขึ้น) + ปัจจัย

: มูลฺ + = มูล (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ส่วนเป็นที่ตั้ง” (2) “ส่วนเป็นเหตุงอกขึ้นแห่งต้นไม้” (3) “ส่วนที่แม้จะถูกตัดไปแล้วก็งอกขึ้นอีกได้ทางส่วนที่มิได้ถูกตัด

มูล” ในภาษาลีมีความหมายหลายหลาก ดังนี้ –

(1) รากไม้ (root)

(2) โคน, ก้น (foot, bottom)

(3) หลักฐาน, เหตุผล, สาเหตุ, เงื่อนไข (ground for, reason, cause, condition)

(4) กำเนิด, บ่อเกิด, พื้นฐาน, รากฐาน (origin, source, foundation, root)

(5) ปฐม, เริ่มแรก, ฐาน, เค้าความเดิม, เรื่องเดิม (beginning, base)

(6) แก่นสาร, มูลฐาน, ค่า, เงิน, ต้นทุน, ราคา, สินจ้าง (substance, foundation, worth, money, capital, price, remuneration)

+ มูล = ปมูล แปลตามศัพท์ว่า “รากที่อยู่ข้างหน้า” (คือรากที่อยู่หน้ารากในปัจจุบัน) “รากที่มีมาก่อน” (คือรากที่เกิดมาก่อนรากในปัจจุบัน)

ปมูล” หมายถึง “รากของราก” ทำนองเดียวกับคำว่า “ปาจารย์” ( + อาจริย = ปาจริย > ปาจารย์) ซึ่งแปลว่า “อาจารย์ของอาจารย์

ปมูล” = “รากของราก” คือ สิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ มีต้นเค้าดั้งเดิมอยู่ที่ไหนบ้างและมีอยู่เท่าไร ก็ไปสืบเสาะให้รู้แล้วเก็บเอามาให้หมดสิ้น

แต่โปรดทราบว่า คำว่า “ปมูล” นี้ ยังไม่พบว่ามีใช้ในคัมภีร์ ที่แปลไว้นี้เป็นการแปลตามรูปศัพท์

ในภาษาไทย มีคำว่า “ประมูล” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

ประมูล : (คำกริยา) เสนอราคาแข่งขันกันในการซื้อหรือขายทรัพย์สินเป็นต้น.”

อภิปรายขยายความ :

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “มูล” ไว้คำหนึ่งที่มีเค้าให้สันนิษฐานว่า “มวล” มาจาก “มูล” โดยบอกไว้ดังนี้ –

มูล ๒, มูล– : (คำวิเศษณ์) มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูล เตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า “มูล” คือ “มวล

ปมูล” กลายรูปเป็น “ประมวล” ได้อย่างไร?

กฎการแปลงรูปในบาลีที่นักเรียนบาลีรู้จักกันดีคือ “พฤทธิ์ อุ และ อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อว

และ “” ในบาลีเป็น “ปฺร” ในสันสกฤต และเป็น “ประ” ในภาษาไทย

: ปมูลฺ > ปโมล > ปมวล > ประมวล

โปรดทราบว่า ที่ว่ามานี้เป็นข้อสันนิษฐานของผู้เขียนบาลีวันละคำล้วนๆ แต่หลักการกลายรูปนั้นมีในกฎไวยากรณ์บาลี

เสนอไว้เพื่อทวยเมธีพิจารณา เสมือนหนึ่งเป็นกีฬาแห่งบาลี

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าจะลงข้างล่าง ลงให้สุดรากสุดโคนต้น

: ถ้าจะขึ้นข้างบน ขึ้นให้สุดยอดสุดปลายฟ้า

#

13-5-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *