บาลีวันละคำ

โทสาคติ (บาลีวันละคำ 2,578)

โทสาคติ

ลำเอียงเพราะชัง

อ่านว่า โท-สา-คะ-ติ

แยกศัพท์เป็น โทส + อคติ

(๑) “โทส

บาลีอ่านว่า โท-สะ รากศัพท์มาจาก ทุสฺ (ธาตุ = ประทุษร้าย, เกลียดชัง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ ทุ-(สฺ) เป็น โอ (ทุสฺ > โทส)

: ทุสฺ + = ทุสณ > ทุส > โทส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การประทุษร้าย” “การเกลียดชัง” “เครื่องประทุษร้ายกัน” “เหตุทำให้เกลียดชังกัน

โทส” ในบาลีมีความหมาย 2 นัย คือ –

(1) ความชั่ว, มลทิน, ความผิด, สภาพไม่ดี, ความบกพร่อง; ความเลวร้าย, ความเสื่อมทราม (corruption, blemish, fault, bad condition, defect; depravity, corrupted state)

(2) โทสะ, ความโกรธ, ความประสงค์ร้าย, เจตนาร้าย, ความชั่วช้า, ความมุ่งร้าย, ความเกลียด (anger, ill-will, evil intention, wickedness, corruption, malice, hatred)

หรือจำสั้นๆ :

(1) ความชั่ว (corruption)

(2) ความโกรธ (anger)

โทส” ในบาลีเป็น “โทษ” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

โทษ : (คำนาม) โทษ, ความผิด, พิรุทธ; บาป; โทษ, การละเมิด; ธาตุพิการ, หรือที่พิการ, และลมในร่างเดิรไม่สะดวก; fault, defect, blemish; sin; offence; transgression; disorder of the humours of the body or defect in the functions of the bile, and circulation of the mind.”

ภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “โทษ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โทษ, โทษ– : (คำนาม) ความไม่ดี, ความชั่ว, เช่น โทษแห่งความเกียจคร้าน, ความผิด เช่น กล่าวโทษ, ผลแห่งความผิดที่ต้องรับ เช่น ถูกลงโทษ, ผลร้าย เช่น ยาเสพติดให้โทษ. (คำกริยา) อ้างเอาความผิดให้ เช่น อย่าโทษเด็กเลย. (ส.; ป. โทส).”

(๒) “อคติ

บาลีอ่านว่า อะ-คะ-ติ รากศัพท์มาจาก + คติ

(ก) “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่

เมื่อไปสมาสกับคำอื่น :

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น (อะ)

ในที่นี้ “คติ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น

(ข) “คติ” รากศัพท์มาจาก คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ติ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ

: คมฺ + ติ = คมติ > คติ แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาอันบุคคลพึงดำเนิน

คติ” (อิตถีลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การไป (going)

(2) การจากไป, การผ่านไป (going away, passing on)

(3) ทางไป, โดยเฉพาะหลังจากตายไป, ชะตากรรม, ที่เกี่ยวกับภพอื่น (course, esp after death, destiny, as regards another existence)

(4) ความประพฤติ, ภาวะหรือฐานะของความเป็นอยู่, ขอบเขตของภพ, ความเป็นอยู่, ธาตุ (behaviour, state or condition of life, sphere of existence, element)

(5) แดนแห่งความเป็นอยู่ 5 อย่างของสัตว์โลก (the five realms of existence) (คือ นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต มนุษย์ และเทพ = คติ 5)

: + คติ = นคติ > อคติ แปลตามศัพท์ว่า (1) “กิริยาอันบุคคลไม่พึงดำเนิน” (2) “การดำเนินอันไม่สมควร

อคติ” ขบความตามศัพท์เท่าที่ตาเห็น –

1 ไม่ไป, ไม่ถึง, ไม่อยู่

2 ไปไม่ได้, ไปไม่ถึง, เข้าไม่ได้, อยู่ไม่ได้

ความหมายในเชิงปฏิบัติของ “อคติ” คือ –

1 ไปในที่ไม่ควรไป, อยู่ในที่ไม่ควรอยู่, เข้าไปในที่ไม่ควรเข้า, ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ

2 ไม่ไปในที่ที่ควรไป, ไม่อยู่ในที่ที่ควรอยู่, ไม่เข้าไปในที่ที่ควรเข้า, ไม่ทำสิ่งที่ควรทำ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อคติ” ว่า –

(1) no course, no access (ไม่มีวิถีทาง, ไม่มีทางเข้า)

(2) a wrong course (ทางที่ผิด)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปล “อคติ” ว่า wrong course of behaviour; prejudice

อคติ” เรามักพูดทับศัพท์ว่า อคติ หมายถึง ความลำเอียง, ความไม่เที่ยงธรรม, ความไม่ยุติธรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อคติ : (คำนาม) ความลําเอียง มี ๔ อย่าง คือ ฉันทาคติ = ความลําเอียงเพราะรัก โทสาคติ = ความลําเอียงเพราะโกรธ ภยาคติ = ความลําเอียงเพราะกลัว โมหาคติ = ความลําเอียงเพราะเขลา. (ป.).”

โทส + อคติ = โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะชัง (prejudice caused by hatred or enmity)

ขยายความ :

โทสาคติลำเอียงเพราะชัง หมายความว่าอย่างไร

โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมฯ บอกว่า “โทสาคติ” คือลำเอียงเพราะโกรธ แต่ในที่นี้ขอใช้คำว่า ลำเอียงเพราะชัง

ทั้งนี้ โดยขบความว่า ในภาษาไทย “โกรธ” คืออาการฉุนเฉียวที่แสดงออกเฉพาะหน้า เกิดขึ้นเป็นบางเวลา แต่ “ชัง” คือไม่ชอบ หรือเกลียด เป็นอาการที่เกิดกรุ่นอยู่ในใจตลอดเวลา แม้ขณะนั้นจะไม่มีอารมณ์โกรธ แต่ความชังก็ยังคงมีอยู่เสมอ

หนังสือ อธิบายธรรมวิภาคปริเฉทที่ 1 ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย ขยายความไว้ดังนี้ –

…………..

โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน หรือเพราะโกรธกัน, เกลียดกัน, ชังกัน, เช่นการตัดสินคดีด้วยอำนาจความโกรธเกลียดชัง โดยให้ผู้ที่โกรธกันนั้นเป็นผู้แพ้ทั้งๆ ที่ไม่ควรแพ้, ให้ของที่เลวแก่ผู้ที่ตนเกลียดชังทั้งๆ ที่เขาควรจะได้ของดี, ไม่ให้ยศหรือรางวัลแก่ผู้ที่ไม่ชอบกันทั้งๆ ที่เขาควรได้ ซึ่งเป็นการไม่ยุติธรรมประการหนึ่ง.

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เพียงแค่จิตคิดจะชังใครสักคน

: ก็จะรู้ได้ในบัดดล ว่าเรานั่นแหละคือคนที่น่าชัง

#บาลีวันละคำ (2,578)

4-7-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *