บาลีวันละคำ

อักขรวิบัติ (บาลีวันละคำ 2,611)

อักขรวิบัติ

อ่านว่า อัก-ขะ-หฺระ-วิ-บัด

ประกอบด้วยคำว่า อักขร + วิบัติ

(๑) “อักขร

เขียนแบบบาลีเป็น “อกฺขร” (อัก-ขะ-ระ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขร (ของแข็ง), แปลง เป็น , ซ้อน กฺ

: + กฺ + ขร = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เป็นของแข็ง

(2) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขรฺ (ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย, แปลง เป็น , ซ้อน กฺ

: + กฺ + ขรฺ = นกฺขรฺ + = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่พินาศไป” (คือไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป)

(3) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขี (ธาตุ = สิ้นไป) + อร ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อี ที่ ขี (ขี > ), แปลง เป็น , ซ้อน กฺ

: + กฺ + ขี = นกฺขี > นกฺข + อร = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่สิ้นไป” (คือใช้ไม่มีวันหมด)

อกฺขร” (ปุงลิงค์, นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้

– เป็นคำนาม หมายถึง เสียงที่เปล่งออก, เสียงสูงต่ำ, คำ, ถ้อยคำ (sounds, tones, words)

– เป็นคุณศัพท์ หมายถึง มั่นคง, คงเส้นคงวา, ทนทาน, ยั่งยืน (constant, durable, lasting)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อักขร-, อักขระ : (คำนาม) ตัวหนังสือ. (ป.; ส. อกฺษร).

(๒) “วิบัติ

บาลีเป็น “วิปตฺติ” (วิ-ปัด-ติ) รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = พิเศษ, ต่างๆ กัน) + ปทฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ติ ปัจจัย, ลบ ที่สุดธาตุ (ปทฺ > ), ซ้อน ระหว่างธาตุกับปัจจัย (ปท > + ตฺ + ติ)

: วิ + ปทฺ = วิปทฺ + ตฺ + ติ = วิปทตฺติ > วิปตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ถึงความแปลกไป” (คือเคยอยู่ในสภาพปกติกลายเป็นแปลกไปจากปกติ) หมายถึง สถานะที่ผิด, การแสดงออกที่ผิด, ความไม่สำเร็จ, ความวิบัติ, ความเคราะห์ร้าย (wrong state, false manifestation, failure, misfortune)

วิปตฺติ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วิบัติ” และแผลง เป็น เป็น “พิบัติ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิบัติ : (คำนาม) พิบัติ, ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล, เช่น ทรัพย์สมบัติวิบัติ; ความเคลื่อนคลาด, ความผิด, เช่น อักขรวิบัติ. (คำกริยา) ฉิบหาย เช่น ขอจงวิบัติทันตาเห็น. (ป., ส. วิปตฺติ).”

อกฺขร + วิปตฺติ = อกฺขรวิปตฺติ (อัก-ขะ-ระ-วิ-ปัด-ติ) แปลตามศัพท์ว่า “ความผิดเพี้ยนแห่งอักษร

อกฺขรวิปตฺติ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อักขรวิบัติ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อักขรวิบัติ : (คำนาม) การเขียน อ่าน หรือออกเสียงไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี.”

อภิปราย :

ความหมายสั้นๆ ของคำว่า “อักขรวิบัติ” คือ พูดเพี้ยนเขียนผิด มีหลายลักษณะ เช่น –

๑ กฎเกณฑ์ของภาษากำหนดไว้อย่างหนึ่ง แต่พูดหรือเขียนไปเสียอีกอย่างหนึ่ง เช่น “จ้ะ” เป็นคำรับ เช่น ได้จ้ะ มีจ้ะ เขียนเป็น “จ้า” (อ้างว่าเขียนตามเสียง) เวลานี้เพี้ยนเป็น “จร้า” แรกๆ ก็อ้างว่าเป็นภาษาเฉพาะกลุ่ม นานวันเข้าก็ทำท่าจะกลายเป็นภาษาสาธารณะไปแล้ว

๒ อักขรวิธีของยุคสมัยหนึ่งนิยมเขียนอย่างหนึ่ง คนสมัยต่อมาไม่เข้าใจ พากันอ่านหรือเขียนไปเสียอีกอย่างหนึ่ง เช่น

– คำว่า “ดูก่อน” (คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง เช่น “ดูก่อนท่านผู้เจริญ”) อักขรวิธีในสมัยหนึ่งท่านสะกดเป็น “ดูกร” คือ –กร ต้องอ่านว่า “ก่อน” แต่คนสมัยต่อมาไม่เข้าใจอักขรวิธีของคนเก่า แทนที่จะอ่านว่า “ดูก่อน” ก็พากันอ่านว่า “ดูกะระ” อ่านกันมากๆ เข้า นานเข้า “ดูกะระ” กลายเป็นคำอ่านที่ถูกต้อง ทั้งๆ ที่ผิดชัดๆ

– คำว่า “โล่” อักขรวิธีสมัยเก่าท่านใช้ หีบ สะกดแทนวรรณยุกต์เอก (ไม้เอก) คือเขียนเป็น “โล” ซึ่งจะต้องอ่านว่า “โล่” และท่านก็ไม่ได้หมายถึง “โลหะ” คือธาตุที่ถลุงจากแร่ แต่หมายถึงเครื่องปิดป้องศัตราวุธซึ่งจะด้วยอะไรก็ได้ แต่คนสมัยต่อมาไม่เข้าใจอักขรวิธีของคนเก่า ไปเห็นคำว่า “โลห” (ที่หมายถึง โล่) ก็จัดแจงเขียนเป็น “โล่ห์” ซึ่งผิดเจตนา เพราะเจตนาของท่าน “ห คือไม้เอก” อยู่แล้ว แล้วยังมีผู้วิจารณ์บนฐานความเข้าใจที่ผิดต่อไปอีกว่า เขียนว่า “โล่ห์” ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะ “โล่” (เครื่องปิดป้องศัตราวุธ) ไม่ได้ทำด้วยโลหะเสมอไป ทำด้วยไม้ก็มี ดังนั้นจึงต้องเขียนเป็น “โล่” จึงจะถูกต้อง

นี่คืออักขรวิบัติที่เกิดจากการไม่เข้าใจอักขรวิธีแห่งยุคสมัย

เพราะฉะนั้น เมื่อจะอ่านคำเก่าๆ ชื่อเก่าๆ – เช่นคำว่า “นเรศวร” – เป็นต้น จึงต้องศึกษาให้เข้าใจเจตนาของคนเขียนว่า สะกดอย่างนี้ต้องอ่านอย่างไร หรือคำที่ท่านเรียกกันพูดกันอย่างนั้นๆ เวลาเขียนท่านสะกดอย่างไร ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าใจอักขรวิธีแห่งยุคสมัยได้ถูกต้องมากน้อยเพียงไร

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าภาษาเป็นเรื่องสมมุติ

: ก็เป็นการสมควรที่สุดที่จะสมมุติให้ถูกต้องดีงาม

#บาลีวันละคำ (2,611)

6-8-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย