บาลีวันละคำ

เวชกรรม (บาลีวันละคำ 2,673)

เวชกรรม

กรรมของใคร

อ่านว่า เวด-ชะ-กำ

ประกอบด้วย เวช + กรรม

(๑) “เวช

บาลีเป็น “เวชฺช” (เวด-ชะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) วิชฺชา (ความรู้ โดยเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษา) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ-(ชฺชา) เป็น เอ (วิชฺชา > เวชฺชา), “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ (วิชฺ)-ชา (วิชฺชา > วิชฺช)

: วิชฺชา + = วิชฺชาณ > วิชฺชา > เวชฺชา > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้วิชาอายุรเวท

(2) วิทฺ (ธาตุ = รู้) + ณฺย ปัจจัย, ลบ (ณฺย > ), แผลง อิ ที่ วิ-(ทฺ) เป็น เอ (วิทฺ > เวท), แปลง ทฺย (คือ ที่ วิทฺ และ ที่ ณฺ) เป็น ชฺช

: วิทฺ + ณฺย = วิทณฺย > วิทฺย > เวทฺย > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้การเยียวยา

เวชฺช” (ปุงลิงค์) หมายถึง หมอ, แพทย์, หมอยา, ศัลยแพทย์ (a physician, doctor, medical man, surgeon)

บาลี “เวชฺช” สันสกฤตเป็น “ไวทฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ไวทฺย : (คำนาม) ‘แพทย์,’ หมอยา, หมอรักษาโรค; ผู้คงแก่เรียน; ผู้คงแก่เรียนในพระเวท; a physician; a learned man; one well versed in the Vedas; – (คำวิเศษณ์) อันเปนสัมพันธินแก่ยา; medical relating to medicine.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) เวช, เวช– : (คำนาม) หมอรักษาโรค. (ป. เวชฺช; ส. ไวทฺย).

(2) ไวทย์ : (คำนาม) แพทย์. (ส.).

(๒) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺมมนฺ” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กมฺม” รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ) ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (กรฺ > ) และ ที่ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำ” หมายถึง การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

เวชฺช + กมฺม = เวชฺชกมฺม แปลว่า “การงานของหมอ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เวชฺชกมฺม” ว่า medical practice or treatment (การปฏิบัติหรือการรักษาทางแพทย์)

เวชฺชกมฺม” ใช้ในภาษาไทยเป็น “เวชกรรม” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เวชกรรม : (คำนาม) การรักษาโรค.”

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ประมวลข้อควรรู้เกี่ยวกับ “เวชกรรม”  ไว้ดังนี้ –

…………..

เวชกรรม : “กรรมของหมอ”, “การงานของแพทย์”, การบำบัดโรครักษาคนเจ็บไข้, อาชีพแพทย์, การทำตัวเป็นหมอปรุงยา ใช้ยาแก้ไขโรครักษาคนไข้;

การประกอบเวชกรรม ถือว่าเป็นมิจฉาชีพสำหรับพระภิกษุ (เช่น ที.สี.๙/๒๕/๑๕; ขุ.จู.๓๐/๗๑๓/๓๖๐) ถึงแม้จะไม่ทำเพื่อการเลี้ยงชีพหรือจะหาลาภ ก็เสี่ยงต่ออาบัติในข้อตติยปาราชิก (วินย.๑/๒๑๕/๑๕๘-๙) หรือไม่ก็เข้าข่ายกุลทูสกสิกขาบท (สังฆาทิเสส ข้อ ๑๓, วินย.๑/๖๒๔/๔๒๖ เรียกเวชกรรมว่า ‘เวชชิกา’)

อย่างไรก็ตาม ท่านก็ได้เปิดโอกาสไว้สำหรับการดูแลช่วยเหลือกันอันจำเป็นและสมควร ดังที่มีข้อสรุปในคัมภีร์ว่า ภิกษุไม่ประกอบเวชกรรม แต่ (มงคล.๑/๑๘๙ สรุปจาก วินย.อ.๑/๕๗๓-๗) พึงทำยาให้แก่คนที่ท่านอนุญาต ๒๕ ประเภท คือ

– บุคคล ๑๐ (สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี, ปัณฑุปลาสคือคนมาอยู่วัดเตรียมบวช ไวยาวัจกรของตน มารดา บิดา อุปฐากของมารดาบิดา)

– ญาติ ๑๐ (พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง น้าหญิง ป้า อาชาย ลุง อาหญิง น้าชาย; อนุชนมีบุตรนัดดาเป็นต้นของญาติเหล่านั้น ๗ ชั่วเครือสกุล ท่านก็จัดรวมเข้าในคำว่า “ญาติ ๑๐” ด้วย)

– คน ๕ (คนจรมา โจร คนแพ้สงคราม คนเป็นใหญ่ คนที่ญาติทิ้งจะไปจากถิ่น)

ถ้าเขาเจ็บป่วยเข้ามาวัด พึงทำยาให้เขา

ทั้งนี้ มีรายละเอียดในการที่จะต้องระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดหลายอย่าง ข้อสำคัญคือ ให้เป็นการทำด้วยเมตตาการุณย์แท้จริง มิใช่หวังลาภ ไม่ให้เป็นการรับใช้หรือประจบประแจง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: การรักษาโรคเป็นหน้าที่ของหมอ

: การรักษาพระธรรมวินัยให้ดีพอเป็นหน้าที่ของพระ

#บาลีวันละคำ (2,673)

7-10-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย