บาลีวันละคำ

ลาภยศสรรเสริญสุข (บาลีวันละคำ 2,691)

ลาภยศสรรเสริญสุข

โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์

ลาภยศสรรเสริญสุข” เป็น “คำชุด” คือเมื่อพูดถึงคำหนึ่งก็มักจะพ่วงอีกคำหนึ่งเข้ามาด้วย ทำนองเดียวกับคำว่า “เกิดแก่เจ็บตาย” ที่เราพูดกันติดปาก

เมื่อพูดว่า “เกิดแก่” คำว่า “เจ็บตาย” ก็มักจะพ่วงตามมา

เมื่อพูดว่า “ลาภยศ” คำว่า “สรรเสริญสุข” ก็มักจะพ่วงตามมา

ลาภยศสรรเสริญสุข” เป็นคำชุดที่ไขความหรือขยายความออกมาจากคำว่า “โลกธรรม” กล่าวคือเมื่อเอ่ยถึงโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์คือฝ่ายที่น่าชอบใจ ก็จะมีคำขยายความตามออกมาว่า “ลาภยศสรรเสริญสุข

ความรู้ทางหลักภาษา :

(๑) “ลาภ

ภาษาไทยอ่านว่า ลาบ ภาษาบาลีอ่านว่า ลา-พะ รากศัพท์มาจาก ลภฺ (ธาตุ = ได้) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นธาตุ คือ อะ ที่ -(ภฺ) เป็น อา (ลภฺ > ลาภ)

: ลภฺ + = ลภณ > ลภ > ลาภ แปลตามศัพท์ว่า “การได้” “สิ่งอันเขาได้” เรานิยมพูดทับศัพท์ว่า “ลาภ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ลาภ” ว่า receiving, getting, acquisition, gain, possession (การรับ, การได้, การได้มา, กำไร, สิ่งที่ได้มา, สมบัติ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า

ลาภ : (คำนาม) สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด. (ป., ส. ลาภ ว่า ของที่ได้, การได้, กําไร).”

(๒) “ยศ

บาลีเป็น “ยส” อ่านว่า ยะ-สะ (ส เสือ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ยชฺ (ธาตุ = บูชา) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: ยชฺ + = ยช > ยส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องบูชา

(2) ยา (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ยา เป็น (ยา > )

: ยา + = ยาส > ยส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไปทุกแห่ง” (ยศมีทั่วไปหมดทุกสังคม)

(3) ยสุ (ธาตุ = พยายาม) + ปัจจัย, ลบสระ อุ ที่สุดธาตุ (ภาษาไวยากรณ์ว่า “ลบสระหน้า”) (ยสุ > ยส)

: ยสุ + = ยสุ > ยส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเหตุให้เขายกย่องหรือแวดล้อม” ขยายความว่า “มีผู้ยกย่องหรือแวดล้อมด้วยเหตุอันใด ก็พยายามทำเหตุอันนั้น”

บาลี “ยส” ภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “ยศ” อ่านว่า ยด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ยศ : (คำนาม) ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูงต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. (คำวิเศษณ์) ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).”

(๓) “สรรเสริญ

อ่านว่า สัน-เสิน ก็ได้ สัน-ระ-เสิน ก็ได้ (ตามพจนานุกรมฯ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สรรเสริญ : (คำกริยา) กล่าวคํายกย่อง เชิดชู หรือ เทิดทูน เช่น สรรเสริญพระพุทธคุณ, กล่าวคําชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอคุณความดี เช่น สรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ, สรเสริญ ก็ใช้.”

พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่า คำว่า “สรรเสริญ” มาจากภาษาอะไร

คำบาลีในชุด “ลาภยศสรรเสริญสุข” คำว่า “สรรเสริญ” แปลมาจากคำว่า “ปสํสา” (ปะ-สัง-สา) รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + สํสฺ (ธาตุ = ชมเชย, ยกย่อง) + (อะ) ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: + สํสฺ = ปสํสฺ + = ปสํส + อา = ปสํสา แปลตามศัพท์ว่า “การชมเชย” หายถึง การสรรเสริญ, การสดุดี, การยกย่อง (praise, applause)

สันสกฤตมีคำว่า “ศํส” “ศํสุ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ศํส, ศํสุ : (ธาตุ) สรรเสริญ; เบียดเบียน; ปรารถนา; to praise; to hurt; to wish.”

และมีคำว่า “ปฺรศํส” เป็นคำกริยา แปลว่า สรรเสริญ (to praise)

ปสํสา, ปฺรศํส อาจแผลงเพี้ยนมาเป็น “สรรเสริญ” ก็เป็นได้

(๔) “สุข

ภาษาไทยอ่านว่า สุก ภาษาบาลีอ่านว่า สุ-ขะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, สะดวก) + ขมฺ (ธาตุ = อดทน, อดกลั้น) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขมฺ = สุขม + กฺวิ = สุขมกฺวิ > สุขม > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ทนได้ง่าย

(2) สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, สะดวก) + ขนฺ (ธาตุ = ขุด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขนฺ = สุขน + กฺวิ = สุขนกฺวิ > สุขน > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ขุดความทุกข์ด้วยดี

(3) สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, สะดวก) + ขาทฺ (ธาตุ = เคี้ยวกิน) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ, ลดเสียง อา ที่ ขา-(ทฺ) เป็น อะ

: สุ + ขาทฺ = สุขาท + กฺวิ = สุขาทกฺวิ > สุขาท > สุขา > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เคี้ยวกินความทุกข์ด้วยดี

(4) สุขฺ (ธาตุ = สุขสบาย) + ปัจจัย

: สุขฺ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ยังบุคคลให้สุขสบาย

(5) สุ (คำอุปสรรค = ง่าย, สะดวก) + (โอกาส)

: สุ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ให้โอกาสได้ง่าย

สุข” เราแปลทับศัพท์กันจนอาจจะไม่เคยคิดว่าหมายถึงอะไร

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สุข” ไว้ดังนี้ –

(1) agreeable, pleasant, blest (เป็นที่พอใจ, รื่นรมย์, ได้รับพร)

(2) wellbeing, happiness, ease (ความผาสุก, ความสุข, ความสบาย)

(3) ideal, success (อุดมคติ, ความสำเร็จ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สุข, สุข– : (คำนาม) ความสบายกายสบายใจ เช่น ขอให้อยู่ดีมีสุข เกิดมาก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เป็น เช่น ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้เป็นสุข ๆ นะ. (คำวิเศษณ์) สบายกายสบายใจ เช่น เดี๋ยวนี้เขาอยู่สุขสบายดี. (ป., ส.).”

ธรรมบรรณาการ :

ลาภยศสรรเสริญสุข” เป็นโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คู่กับเสื่อมลาภ เลื่อมยศ นินทา ทุกข์ อันเป็นโลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือฝ่ายที่ไม่น่าชอบใจ

ขออาศัยบาลีวันละคำเป็นเวทีประกาศธรรม โดยนำพระพุทธพจน์จากโลกธรรมสูตรเฉพาะที่เป็นบทคาถามาเสนอพร้อมทั้งคำแปลเป็นธรรมบรรณาการดังต่อไปนี้ –

…………..

ลาโภ อลาโภ จ ยสายโส จ

นินฺทา ปสํสา จ สุขํ ทุกฺขญฺจ

เอเต อนิจฺจา มนุเชสุ ธมฺมา

อสสฺสตา วิปริณามธมฺมา.

ลาภ 1 เสื่อมลาภ 1 ยศ 1 เสื่อมยศ 1

นินทา 1 สรรเสริญ 1 สุข 1 ทุกข์ 1

สัจธรรมอันไม่แน่นอนทั้ง 8 เหล่านี้มีอยู่ในหมู่มนุษย์

ไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

เอเต จ ญตฺวา สติมา สุเมโธ

อเวกฺขติ วิปริณามธมฺเม

อิฏฺฐสฺส ธมฺมา น มเถนฺติ จิตฺตํ

อนิฏฺฐโต โน ปฏิฆาตเมติ.

ท่านผู้มีปัญญา มีสติ รู้เท่าทันสัจธรรมเหล่านี้

พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

สิ่งที่น่าปรารถนาเขย่าหัวใจของท่านไม่ได้

สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ท่านก็ไม่ขัดข้องขุ่นเคือง

ตสฺสานุโรธา อถ วา วิโรธา

วิธูปิตา อตฺถคตา น สนฺติ

ปทญฺจ ญตฺวา วิรชํ อโสกํ

สมฺมปฺปชานาติ ภวสฺส ปารคู.

ความยินดีและความยินร้ายของท่าน

ถูกขจัดขัดล้างเสียจนไม่มีเหลือ

ทั้งท่านยังรู้จักทางอันไม่ต้องมามัวสุขมัวเศร้า

เข้าใจความเป็นจริงอย่างถูกต้อง ข้ามฝั่งแห่งภพชาติได้สำเร็จ

ที่มา: โลกธรรมสูตร อัฏฐกนิบาต อังคุตรนิกาย

พระไตรปิฎกเล่ม 23 ข้อ 95

…………..

ดูก่อนภราดา!

: โลกธรรมเป็นของประจำโลกธาตุ

: คนฉลาดไม่เลี่ยงหลบ

: รับกระทบ แต่ไม่กระเทือน

#บาลีวันละคำ (2,691)

25-10-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย