บาลีวันละคำ

ทุพภิกขภัย (บาลีวันละคำ 2,833)

ทุพภิกขภัย

อ่านว่า ทุบ-พิก-ขะ-ไพ

แยกคำเป็น ทุพภิกข + ภัย

(๑) “ทุพภิกข

เขียนแบบบาลีเป็น “ทุพฺภิกฺข” (มีจุดใต้ และใต้ ) อ่านว่า ทุบ-พิก-ขะ ประกอบด้วย ทุ + ภิกฺขา

(ก) “ทุ” เป็นคำอุปสรรค นักเรียนบาลีในไทยท่องจำคำแปลได้ตั้งแต่ชั้นไวยากรณ์ว่า “ชั่ว, ยาก, ลําบาก, ทราม, น้อย

(ข) “ภิกฺขา” (พิก-ขา) รากศัพท์มาจาก –

(1) ภกฺขฺ (ธาตุ = กิน) + (อะ) ปัจจัย, แปลง อะ ที่ -(กฺขฺ) เป็น อิ (ภกฺขฺ > ภิกฺข) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ภกฺขฺ + = ภกฺข > ภิกฺข + อา = ภิกฺขา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่น่ากิน

(2) ภิกฺขฺ (ธาตุ = ขอ) + (อะ) ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ภิกฺขฺ + = ภิกฺข + อา = ภิกฺขา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ควรขอ

ภิกฺขา” หมายถึง อาหารที่ขอมา, ทาน, บิณฑบาต; อาหาร, ภิกษา (begged food, alms, alms-begging; food)

ทุ + ภิกฺขา ซ้อน พฺ ระหว่างอุปสรรคกับบทหลัง (ทุ + พฺ + ภิกฺขา)

: ทุ + พฺ + ภิกฺขา = ทุพฺภิกฺขา แปลว่า “ภิกษาอันหาได้โดยยาก

ทุพฺภิกฺขา” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เป็นคำนาม: ทุพฺภิกฺขา (อิตถีลิงค์) ทุพฺภิกฺข (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ข้าวยากหมากแพง, ทุพภิกขภัย, อาหารฝึดเคือง (scantiness of alms, famine, scarcity of food)

(2) เป็นคุณศัพท์: หมายถึง เวลา สถานที่ หรือสถานการณ์ที่มีทุพภิกขภัย (famine-stricken)

(๒) “ภย

บาลีอ่านว่า พะ-ยะ รากศัพท์มาจาก ภี (ธาตุ = กลัว) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อี (ที่ ภี) เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: ภี + = ภีณ > ภี > เภ > ภย แปลตามศัพท์ว่า “ความกลัว

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภย” เป็นอังกฤษว่า fear, fright, dread (ความกลัว, ความหวาดหวั่น, สิ่งที่น่ากลัว)

ภย” ใช้ทับศัพท์ในภาษาไทยว่า “ภัย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภัย : (คำนาม) สิ่งที่น่ากลัว, อันตราย, เช่น อัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดจากไฟ อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดจากน้ำ. (ป., ส. ภย).”

ความหมายของ “ภย” ในบาลีคือ “ความกลัว” (fear) หรือ “สิ่งที่น่ากลัว” (fright) แต่ “ภัย” ในภาษาไทยน้ำหนักของความหมายอยู่ที่ “อันตราย” (danger, dangerous)

โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ที่ฝรั่งเป็นผู้ทำไม่ได้แปล “ภย” ว่า danger หรือ dangerous

ทุพฺภิกฺข + ภย = ทุพฺภิกฺขภย (ทุบ-พิก-ขะ-พะ-ยะ) แปลว่า “สิ่งที่น่ากลัวอันเกิดแต่ความอดอยากขาดแคลน

ทุพฺภิกฺขภย” ในภาษาไทยใช้เป็น “ทุพภิกขภัย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทุพภิกขภัย : (คำนาม) ภัยอันเกิดจากข้าวยากหมากแพงหรือการขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง. (ป.).”

อภิปรายขยายความ :

ทุพฺภิกฺขภย” (ทุพภิกขภัย) ถ้ากล่าวเฉพาะคำนี้โดดๆ หมายถึง ภัยที่เกิดจากความขาดแคลนอาหาร แต่ในคัมภีร์บาลี “ทุพฺภิกฺขภย” มักกล่าวรวมไปกับ “ฉาตกภย” (ฉา-ตะ-กะ-พะ-ยะ = ฉาตกภัย) และ“โรคภย” (โร-คะ-พะ-ยะ = โรคภัย)

กรณีเช่นนี้ “ทุพฺภิกฺขภย” จะเน้นไปที่ความขาดแคลนทั่วไป และ “ฉาตกภย” เน้นที่ความอดอยากอันเนื่องมาจากขาดแคลนอาหาร

โรคภย” = โรคภัย (โร-คะ-ไพ, โรก-คะ-ไพ) แปลว่า “สิ่งที่น่ากลัวอันเกิดแต่โรค” หมายถึง ภัยที่เกิดจากโรคระบาด เป็นเหตุให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก

ทุพฺภิกฺขภย” “ฉาตกภย” และ “โรคภย” รวมเป็นภัย 3 อย่างที่มักกล่าวถึงควบคู่กัน

ในที่บางแห่ง รวมภัยอีก 2 อย่างเข้าด้วย คือ –

ราชภย” (รา-ชะ-พะ-ยะ) = ราชภัย ภัยที่เกิดจากทางราชการบ้านเมืองกดขี่ขูดรีดประชาชน

โจรภย” (โจ-ระ-พะ-ยะ) = โจรภัย ภัยที่เกิดจากโจรผู้ร้ายชุกชุม

รวมทั้งหมดเป็น 5 ภัย

ภัยอื่นๆ ก็ยังมีอีก แต่ที่พูดถึงเป็นกลุ่มหรือเป็นชุด มักนิยมระบุภัยทั้ง 5 อย่างนี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: หิวคนเดียวในท่ามกลางคนอิ่ม

: สุขกว่าอิ่มคนเดียวในท่ามกลางคนหิว

#บาลีวันละคำ (2,833)

15-3-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย