Month: กุมภาพันธ์ 2014

บาลีวันละคำ

โมฆะ (บาลีวันละคำ 632)

โมฆะ

เขียนแบบบาลีเป็น “โมฆ”
อ่านว่า โม-คะ

“โมฆ” แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่หลงลืม” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง เปล่า, ว่าง, ไร้ประโยชน์, โง่ , งี่เง่า

ในภาษาไทย พจน.42 บอกไว้ว่า –
“โมฆ-, โมฆะ : เปล่า, ว่าง; ไม่มีประโยชน์, ไม่มีผล, เช่น สัญญาเป็นโมฆะ; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย”

Read More
บาลีวันละคำ

รัฐประหาร (บาลีวันละคำ 631)

รัฐประหาร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกคำอ่านไว้ว่า

(1) รัด-ถะ-ปฺระ-หาน
(2) รัด-ปฺระ-หาน

ความเห็น

1 อ่านว่า รัด-ถะ-ปฺระ-หาน เป็นการอ่านตามหลักคำสมาส
2 อ่านว่า รัด-ปฺระ-หาน (ไม่มีเสียง -ถะ-) เป็นการอ่านแบบไม่เอื้อหลัก หรืออ่านตามสะดวกปาก ถ้ารักภาษาไทย ไม่ควรอ่านแบบนี้

Read More
บาลีวันละคำ

ปฏิวัติ (บาลีวันละคำ 630)

ปฏิวัติ

อ่านว่า ปะ-ติ-วัด
บาลีเป็น “ปฏิวตฺติ” อ่านว่า ปะ-ติ-วัด-ติ
ประกอบด้วย ปฏิ + วตฺติ

“ปฏิ” เป็นคำอุปสรรค ใช้นำหน้าคำอื่น มีความหมายว่า เฉพาะ ตอบ ทวน กลับ ในที่นี้น้ำหนักของความหมายอยู่ที่ “กลับ” หรือ “ทวน”

“วตฺติ” จากคำกริยา ปฐมบุรุษ เอกพจน์ “วตฺตติ” แปลว่า เคลื่อน, ดำเนินไป, ไปต่อไป, เกิดขึ้น, เป็นไป; ดำรงอยู่; มีชีวิตอยู่, เป็นอยู่; กระทำ (to move, go on, proceed; to happen, take place, to be; to be in existence; to fare, to do)

Read More
บาลีวันละคำ

โลก (บาลีวันละคำ 629)

โลก

อ่านว่า โลก
บาลีอ่านว่า โล-กะ

รู้จัก “โลก” ในแง่มุมต่างๆ

๑ ในแง่ภาษา

1 “โลก” มีรากศัพท์มาจาก ลุชฺ (ธาตุ = พินาศ) + ณ ปัจจัย แปลง ช เป็น ก แผลง อุ เป็น โอ
: ลุชฺ > ลุก > โลก + ณ = โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะพินาศไป”

Read More
บาลีวันละคำ

สงคราม (บาลีวันละคำ 628)

สงคราม

อ่านว่า สง-คฺราม
บาลีเป็น “สงฺคาม” อ่านว่า สัง-คา-มะ

“สงฺคาม” รากศัพท์ประกอบด้วย –

1 สํ (= พร้อมกัน) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ณ ปัจจัย
: สํ + คมฺ > คาม + ณ = สงฺคาม แปลตามศัพท์ว่า “ไปพร้อมกัน” “รวบรวมกันไป”

2 สงฺคาม (ธาตุ = ต่อสู้) + อ ปัจจัย
: สงฺคาม + อ = สงฺคาม แปลตามศัพท์ว่า “ต่อสู้กัน”

Read More
บาลีวันละคำ

กากบาท (บาลีวันละคำ 627)

กากบาท

อ่านว่า กา-กะ-บาด
บาลีเป็น “กากปาท” อ่านว่า กา-กะ-ปา-ทะ

“กาก” (กา-กะ) แปลตามศัพท์ว่า “ทำเสียงว่ากา” “ส่งเสียงว่ากา” รากศัพท์มี 2 ทาง คือ –

1 กา (เสียงว่า “กา”) + กร (ธาตุ = ทำ) + อ ปัจจัย ลบ รฺ ที่สุดธาตุ
: กา + กรฺ > ก + อ = กาก = “ผู้ทำเสียงว่ากา”

2 กา (เสียงว่า “กา”) + กา (ธาตุ = ส่งเสียง) + อ ปัจจัย ลบ อา ที่ธาตุ
: กา + กา > ก + อ = กาก = “ผู้ส่งเสียงว่ากา”

Read More
บาลีวันละคำ

กติกา (บาลีวันละคำ 626)

กติกา

อ่านว่า กะ-ติ-กา

“กติกา” แปลตามศัพท์ว่า “ประกอบไว้ในถ้อยคำ” “ดำเนินไปในถ้อยคำ” มีความหมาย 2 นัย คือ –

1 การตกลง, ข้อตกลง, สัญญา (agreement, contract, pact)
2 การพูดกัน, การสนทนา, การเจรจา (talking, conversation, talk)

ตามความหมายนี้ ในบาลีใช้คำเต็มว่า “กติกาวตฺต” (กะ-ติ-กา-วัด-ตะ) แปลว่า “ข้อปฏิบัติตามที่ตกลงกัน”

Read More