บาลีวันละคำ

บาลีวันละคำ

วัฒนธรรม (บาลีวันละคำ 270)

วัฒนธรรม
(บาลีไทย)

เขียนแบบบาลีเป็น “วฑฺฒนธมฺม” (วฑฺฒน + ธมฺม) อ่านว่า วัด-ทะ-นะ-ทำ-มะ

“วฑฺฒน” แปลว่า การเพิ่มขึ้น, การยกให้สูง, การบำรุง, การเพิ่มเติม, การทำให้เจริญขึ้น, การทำให้ยาวออกไป (และยังแปลในความหมายอื่นได้อีก) ความหมายที่เราคุ้นกันก็คือ “ความเจริญ”

“ธมฺม” แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้” มีความหมายหลากหลาย คือ ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบธรรม, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

“วฑฺฒนธมฺม” เขียนแบบไทยเป็น “วัฒนธรรม” (วฑฺฒน ตัด ฑ ออก เป็น วัฒน, ธมฺม เขียนอิงสันสกฤตเป็น ธรรม) เป็นคำที่บัญญัติขึ้นเพื่อเทียบคำภาษาอังกฤษว่า culture
ตามที่ปรากฏหลักฐาน เดิมใช้คำว่า “พฤฒิธรรม” (พฺรึด-ทิ-ทำ) แต่ไม่มีผู้นิยม จึงเปลี่ยนเป็น “วัฒนธรรม” และใช้กันมาจนทุกวันนี้

: เมื่อใดเห็นหายนธรรมเป็นวัฒนธรรม เมื่อนั้นคือหายนะ

Read More
บาลีวันละคำ

ปเวณิ (บาลีวันละคำ 269)

ปเวณิ

อ่านว่า ปะ-เว-นิ (เป็น “ปเวณี” ก็มีบ้าง แต่น้อย)

ประกอบด้วย ป + วี (ธาตุ = ถัก, ทอ, สืบต่อ)+ ณี = ปเวณิ แปลตามศัพท์ว่า “การสืบต่อไปเรื่อยๆ” มีความหมายหลายนัย คือ –
1- ม้วนผม, มวยผม, ผมเปีย, ผมที่ถักยาว
2- เสื่อ หรือสิ่งทอ, เครื่องลาด
3- ประเพณี, ขนบธรรมเนียม, ความเคยชินหรือกิจวัตร, ประเพณีที่มีมานาน
4- การสืบสกุล, เชื้อสาย, พันธุ์, เชื้อชาติ

Read More
บาลีวันละคำ

ทายก – ทายิกา (บาลีวันละคำ 268)

ทายก – ทายิกา

อ่านว่า ทา-ยะ-กะ / ทา-ยิ-กา
ภาษาไทยเขียนเหมือนกัน อ่านว่า ทา-ยก / ทา-ยิ-กา

“ทายก-ทายิกา” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ให้” กระบวนการทางไวยากรณ์คือ –

(1) “ทา” ธาตุ ในความหมายว่า “ให้” แปลง “อา” เป็น “อาย” (อา-ยะ) = ทาย
(2) ทาย + ณฺวุ (นะ-วุ เป็นปัจจัย = “ผู้-”) แปลง ณฺวุ เป็น “อก” (อะ-กะ)
(3) จึง = ทาย + อก = ทายก แปลว่า “(ชาย) ผู้ให้”

ถ้าเพศหญิง ลง “อา” (เครื่องหมายอิตถีลิงค์) และ “อิ” อาคมหน้า “อา” = “อิ-า” จึง = ทายก + อิ-า = ทายิกา แปลว่า “(หญิง) ผู้ให้”

Read More
บาลีวันละคำ

มหัศจรรย์ (บาลีวันละคำ 267)

มหัศจรรย์

อ่านว่า มะ-หัด-สะ-จัน

“มหัศจรรย์” เป็นรูปสันสกฤต “มหาศฺจรฺย”
บาลีเป็น “มหจฺฉริย” อ่านว่า มะ-หัด-ฉะ-ริ-ยะ

“มหจฺฉริย” ประกอบด้วย มหา + อจฺฉริย (เขียนอิงสันสกฤต = อัศจรรย์ : มหา + อัศจรรย์ = มหัศจรรย์)

“มหา” แปลว่า มาก, ใหญ่, ยิ่งใหญ่

“อจฺฉริย” แปลตามศัพท์ว่า –

1-“สิ่งอันบุคคลพึงประพฤติให้ยิ่ง” หมายความว่า ปกติกิริยาอาการเป็นแบบหนึ่ง แต่พอมี “อจฺฉริย” เกิดขึ้น กิริยาอาการเปลี่ยนเป็นยิ่งกว่าปกติ

2-“สิ่งที่ควรดีดนิ้วให้” คำแปลนี้ไทยกับฝรั่งมองต่างกัน
– ไทยตีความเป็น “ยกนิ้วให้” คือยอดเยี่ยม ดีเลิศกว่าธรรมดาสามัญ
– ส่วนฝรั่งแปลว่า at the snap of a finger. “สิ่งซึ่งเกิดขึ้นชั่วดีดนิ้วมือ” = เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันไม่ทันรู้ตัว

“มหัศจรรย์” ในภาษาไทยมีความหมายว่า แปลกประหลาดมาก, น่าพิศวงมาก, ผิดปกติวิสัยของธรรมชาติ

: สิ่งที่คั่นระหว่าง “ปกติ” กับ “มหัศจรรย์” คือ “สติ-รู้ทัน”
ถ้ารู้ทันว่ามันคืออะไร ก็ปกติ
ถ้าไม่รู้ หรือรู้ไม่ทัน ก็อัศจรรย์

Read More
บาลีวันละคำ

กัลบก (บาลีวันละคำ 266)

กัลบก

อ่านว่า กัน-ละ-บก

“กัลบก” เป็นรูปคำสันสกฤต “กลฺปก” (ออกเสียง กะ- แล้วดันลิ้นขึ้นติดเพดานปาก แล้วออกเสียง ปะ-กะ ต่อไป จะได้คำอ่านที่ถูกต้อง)

“กลฺปก” บาลีเป็น “กปฺปก” (กับ-ปะ-กะ)

“กปฺปก” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ตัดผม” “ผู้จัดแจงการแต่งตัวผู้คน”
ความหมายที่เข้าใจทั่วไปคือ ช่างตัดผม, ช่างแต่งผม, ข้าราชบริพาร, พนักงานภูษามาลา

ในภาษาไทย มักเข้าใจคำว่า “กัลบก” ในความหมายเดียวคือช่างตัดผม แต่ในภาษาบาลี “กปฺปก – กัลบก” ทำหน้าที่มากกว่าตัดผม แต่รวมไปถึงเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว และงานทั้งปวงที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดและตกแต่งร่างกาย

Read More
บาลีวันละคำ

โหรา (บาลีวันละคำ 265)

โหรา

อ่านว่า โห-รา

“โหรา” รากศัพท์เดิมคือ “หุร” (หุ-ระ) แปลว่า ที่นั่น, ในโลกอื่น, ในชีวิตอื่น

“หุร” มักมาคู่กับ “อิธ” (อิ-ทะ) ซึ่งแปลว่า ที่นี่, ในธรรรมวินัยนี้, ในโลกนี้, ในชาตินี้

ความหมายโดยนัย “อิธ” = ปัจจุบัน “หุร” = อนาคต

หุร + ณ ปัจจัย (ปัจจัยตัวนี้ไม่ปรากฏรูป) แผลง อุ เป็น โอ : หุร = โหร

ทำ “อะ” ที่ “ร” เป็น อา (เครื่องหมายอิตถีลิงค์) : โหร = โหรา

“โหรา” แปลตามศัพท์ว่า “วิชาบอกเหตุการณ์ในอนาคต” มีความหมายว่า ชั่วโมง, เวลา, ฤกษ์

“โหรา” เป็นทั้งรูปบาลีและสันสกฤต เขียนด้วยอักษรฝรั่งเป็น hora

ผู้รู้สันนิษฐานว่า hora รากศัพท์เดียวกับ hour = “ชั่วโมง”
ดังนั้น หลักของ “โหราศาสตร์” คือเอาตัวเลขของวัน เวลา เดือน ปี ที่พูดว่า “เลขผานาที” รวมทั้งตัวการณ์ที่ทำให้เกิดวันเวลา คือดวงดาวทั้งหลายมาคำนวณ แล้วบอกเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคต

Read More
บาลีวันละคำ

สถุล (บาลีวันละคำ 264)

สถุล

อ่านว่า สะ-ถุน

“สถุล” เป็นคำสันสกฤตเขียนแบบไทย สันสกฤตเป็น “สฺถูล” บาลีเป็น “ถูล” (ถู-ละ) และ “ถุลฺล” (ถุน-ละ)

สังเกต : ถ้าเป็น ถู : ล ลิง ตัวดียว, ถ้าเป็น ถุ : ล ลิง 2 ตัว (สะกดและตาม) ไทยเอา “สฺ-(ถูล)” แบบสันสกฤต มาต่อ “-ถุลฺ-(ล)” แบบบาลี เป็น “สถุล” แบบไทย นับเป็นอัจฉริยะทางภาษาของเรา!

“สฺถูล – ถูล – ถุลฺล” มีความหมาย 2 นัย คือ –

1 อ้วน, ล่ำ, เจ้าเนื้อ, ใหญ่โต, หยาบ (เนื้อหยาบ), ใหญ่เทอะทะ, เบ้อเร่อ, แข็งแรง, ขี้เหร่, ขี้ริ้ว

Read More
บาลีวันละคำ

เมถุน (บาลีวันละคำ 263)

เมถุน

อ่านว่า เม-ถุ-นะ
ภาษาไทยใช้เหมือนกัน อ่านว่า เม-ถุน

“เมถุน” รากเดิมมาจาก “มิถุ” แปลว่า ตรงข้าม, ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน, ขัดกัน
ถือเอาความหมายว่า “สิ่งที่เป็นคู่” เพราะถ้าไม่เป็นคู่ หรือไม่มีอีกฝ่ายหนึ่ง ภาวะตรงข้าม ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน หรือขัดกัน ก็มีไม่ได้

มิถุ + ยุ (ปัจจัย = อน) = เมถุน ความหมายที่เข้าใจกันคือ “คนคู่” มีคำวิเคราะห์ศัพท์ว่า

1- มิถุนานํ อิตฺถีปุริสานํ สมานฉนฺทานํ อาจาโร = เมถุนํ
“ความประพฤติของคู่หญิงชายผู้มีความพอใจเสมอกัน”

2- เมถนฺติ สงฺคจฺฉนฺตีติ เมถุนา ปุมิตฺถิยุคลา, เตสํ กมฺมํ = เมถุนํ
“กิจกรรมของคู่ชายหญิงผู้สมสู่กัน”

ในคัมภีร์ คำว่า “เมถุน” มักใช้คู่หรือควบกับคำว่า “ธมฺม” เป็น “เมถุนธมฺม” เมื่อใช้คำเช่นนี้ ความหมายจะดิ้นไม่ได้ (เช่นอ้างว่ามาคู่กันเพื่อทำกิจอย่างอื่น)

Read More
บาลีวันละคำ

สีหปญฺชร (บาลีวันละคำ 262)

สีหปญฺชร

อ่านว่า สี-หะ-ปัน-ชะ-ระ
ภาษาไทยใช้ว่า “สีหบัญชร” อ่านว่า สี-หะ-บัน-ชอน

“สีหปญฺชร” ประกอบด้วยคำว่า สีห + ปญฺชร

“สีห” แปลทับศัพท์ว่า สีหะ, ราชสีห์, สิงโต

“ปญฺชร” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความเสื่อมไปตามปกติ” ใช้ในความหมายว่า ร่างกาย, ซี่โครง, กรง, ช่อง

“ปญฺชร” ถ้าใช้ควบกับคำอื่น จะมีความหมายเฉพาะ เช่น –

“นขปญฺชร” = “กรงเล็บ” หมายถึงอุ้งเท้าของนกซึ่งสามารถขยุ้มจับเหยื่อได้
“ชินปญฺชร” = “กรงของพระชินเจ้า” หมายถึงอยู่ในความคุ้มครองป้องกันของพระพุทธเจ้า

“สีหปญฺชร” ตามศัพท์แปลว่า “กรงราชสีห์” ซึ่งชวนให้เข้าใจว่าหมายถึงอุ้งเท้าราชสีห์ที่มีเล็บสามารถตะปบเหยื่อได้

แต่ศัพท์นี้มีความหมายเฉพาะว่า “หน้าต่าง” ของปราสาท หรือตึก โดยเฉพาะหน้าต่างที่มีกรอบใหญ่พิเศษกว่าบานอื่นๆ
สันนิษฐานว่า เดิมกรอบหน้าต่างอาจทำลวดลายเป็นรูปเท้าสิงห์ จึงเรียกหน้าต่างว่า “สีหบัญชร”

Read More