Month: ธันวาคม 2013

บาลีวันละคำ

กาล (บาลีวันละคำ 594)

กาล

ภาษาไทยอ่านว่า กาน
บาลีอ่านว่า กา-ละ

“กาล” แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องนับประมาณอายุเป็นต้น” “ถูกนับว่าล่วงไปเท่านี้แล้ว” “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง, หน

“กาล” ที่หมายถึง “เวลา” (time) ในภาษาบาลียังใช้ในความหมายที่ชี้ชัดอีกด้วย คือ
1 เวลาที่กำหนดไว้, เวลานัดหมาย, เวลาตายตัว (appointed time, date, fixed time)
2 เวลาที่เหมาะสม, เวลาที่สมควร, เวลาที่ดี, โอกาส (suitable time, proper time, good time, opportunity)

Read More
บาลีวันละคำ

อวสาน (บาลีวันละคำ 593)

อวสาน

อ่านว่า อะ-วะ-สาน

“อวสาน” รากศัพท์มาจาก อว (= ลง) + สา (ธาตุ = จบ, สิ้นสุด) + ยุ ปัจจัย แปลงเป็น “อน” (อะ-นะ)
: อว + สา = อวสา + ยุ > อน = อวสาน

“อวสาน” แปลตามศัพท์ว่า “การสิ้นสุดลง” หมายถึง การจบลง, การสิ้นสุด, การอวสาน, การลงเอย, การลงท้าย, ปิดฉาก, ยุติ, เลิก

ในภาษาไทย เขียนเหมือนกัน พจน.42 บอกไว้ว่า –
“อวสาน : จบ, สิ้นสุด; การสิ้นสุด, ที่สุด”

Read More
บาลีวันละคำ

วงจรอุบาทว์ (บาลีวันละคำ 592)

วงจรอุบาทว์
(บาลีปนไทย)

“วง” เป็นคำไทย หมายถึงรูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

“วง” รูป เสียง และความหมายบางแง่ คล้ายคำบาลีว่า “วงฺก” (วัง-กะ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่คด” (1) เป็นคุณศัพท์มีความหมายว่า คด, งอ, โค้ง, คดเคี้ยว, โกง, ไม่ซื่อสัตย์, หลอกลวง, หลอกหลอน (2) เป็นคำนาม หมายถึง ตาขอ, เบ็ดตกปลา, ไถ, ส่วนงอ, ซอก, ส่วนโค้ง (ดูเพิ่มเติมที่ “แม่วงก์” บาลีวันละคำ (498) 25-9-56)

“จร” บาลีอ่านว่า จะ-ระ แปลว่า การเที่ยวไป, การเดินไป, ผู้ถูกให้ไปส่งข่าว, คนท่องเที่ยว, จารบุรุษ, คนสอดแนม

“จร” ภาษาไทยอ่านว่า จอน พจน.42 บอกความหมายว่า ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร; ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ

Read More
บาลีวันละคำ

วิปลาส (บาลีวันละคำ 591)

วิปลาส

อ่านว่า วิ-ปะ-ลาด, วิบ-ปะ-ลาด
บาลีเป็น “วิปลฺลาส” อ่านว่า วิ-ปัน-ลา-สะ

“วิปลฺลาส” รากศัพท์มาจาก วิ (= พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + ปริ (= รอบ) + อสุ (ธาตุ = ซัด, ขว้างไป) + ณ ปัจจัย
: วิ + ปริ > วิปรฺย > วิปลฺย > วิปล > วิปลฺล + อสุ > อส > (วิปลฺล +) อาส = วิปลฺลาส

“วิปลฺลาส” แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ขว้างไปผิด” หมายถึง ความแปรปรวน, ความพลิกผัน, การกลับกัน, ความเปลี่ยนแปลง (ในทางไม่ดี), ความตรงกันข้าม, ความวิปริต, การทำให้ยุ่งเหยิง, ความเสียหาย, ความผิดเพี้ยน

Read More
บาลีวันละคำ

นักการเมือง (บาลีวันละคำ 590)

นักการเมือง
ภาษาบาลีว่าอย่างไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –
“นักการเมือง : ผู้ฝักใฝ่ในทางการเมือง, ผู้ที่ทําหน้าที่ทางการเมือง เช่นรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา”

คำว่า “นักการเมือง” เป็นคำรุ่นใหม่ ยังไม่พบว่ามีคำบาลีในคัมภีร์ที่ใช้ในความหมายนี้ตรงๆ จึงต้องอาศัยวิธีถ่ายภาษา

พจนานุกรม สอ เสถบุตร ว่า “นักการเมือง” ตรงกับคำอังกฤษว่า a politician

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี (ENGLISH-PALI DICTIONARY ของ A.P. BUDDHADATTA MAHĀTHERA. PALI TEXT SOCIETY, LONDON) แปลคำว่า politician เป็นบาลีว่า “เทสปาลนญฺญู”

Read More
บาลีวันละคำ

สุขา (บาลีวันละคำ 589)

สุขา
มาจากหนใด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า
“สุขา : (ภาษาปาก) ห้องนํ้าห้องส้วม, เป็นคำที่มักใช้เรียกตามสถานที่บางแห่ง เช่นโรงภาพยนตร์ สถานีรถไฟ, ห้องสุขา ก็เรียก”

มีหลักฐานในพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440 รัชกาลที่ 5) ความตอนหนึ่งว่า –

“ตอน ๒ การจัดเว็จที่ถ่ายอุจาระ แลปัสสาวะของมหาชนทั่วไป
มาตรา ๑๓ ข้อ ๑ ให้กรมศุขาภิบาลปฤกษาพร้อมด้วยเจ้าพนักงานแพทย์กับช่างใหญ่ (เอ็นยินเนีย) ให้มีเว็จที่ตำบลอันสมควร สำหรับราษฎรถ่ายอุจาระและปัสสาวะได้โดยสดวก ไม่เปนที่เดือดร้อน แลจัดการรักษาแลชำระให้เรียบร้อยทุกๆ วัน”
(ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา ร.ศ.116 เล่ม 14 หน้า 521 สะกดการันต์ตามต้นฉบับ)

Read More
บาลีวันละคำ

ชาติ (บาลีวันละคำ 588)

ชาติ

บาลีอ่านว่า ชา-ติ
ภาษาไทยอ่านว่า ชาด

“ชาติ” รากศัพท์มาจาก ชน (ธาตุ = เกิด) + ติ ปัจจัย
กระบวนการทางไวยากรณ์ –
1 แปลง ชน (ชะ-นะ) เป็น ชา : ชน > ชา + ติ = ชาติ
2 แปลง “น” (ที่ ชน) เป็น อา : (ช)น > อา (> ช + อา) = ชา + ติ = ชาติ

“ชาติ” แปลตามศัพท์ว่า “การเกิด” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังต่อไปนี้ –

1 การเกิด, การเกิดใหม่, กำเนิด (birth, rebirth, possibility of rebirth)

2 ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ, ชั้น, วงศ์วาน (descent, race, rank, genealogy)

3 จำพวก, ชนิด (a sort of, kind of)

4 ตามธรรมชาติ (ตรงข้ามกับของที่ตกแต่งขึ้น); แท้จริง, บริสุทธิ์, วิเศษ (ตรงกันขามกับปนเจือ เลว) (by birth or nature, natural (opp. artificial); genuine, pure, excellent (opp. adulterated, inferior))

Read More
บาลีวันละคำ

สยามานุสติ (บาลีวันละคำ 587)

สยามานุสติ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกคำอ่านว่า
สะ-หฺยาม-มา-นุด-สะ-ติ
สะ-หฺยา-มา-นุด-สะ-ติ

“สยามานุสติ” ประกอบด้วย สยาม + อนุ + สติ

คำว่า “สยาม” (สะ-หฺยาม) พจน.42 บอกไว้ว่า “ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482”

มีผู้สันนิษฐานว่า “สยาม” ที่เป็นชื่อประเทศไทยมาจากคำสันสกฤตว่า “ศยาม” เนื่องจากคนไทยมีผิวสีคล้ำ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า
“ศฺยาม : มีสีดำหรือสีครามหม่น; มีสีเขียว black or dark-blue; green”

Read More
บาลีวันละคำ

อภิปราย-อธิบาย (บาลีวันละคำ 586)

อภิปราย-อธิบาย

อ่านว่า อะ-พิ-ปฺราย / อะ-ทิ-บาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (อ้างบ่อยในนามย่อว่า พจน.42) บอกไว้ว่า –
“อภิปราย : พูดชี้แจงแสดงความคิดเห็น. (ส. อภิปฺราย)”

“(ส. อภิปฺราย)” หมายความว่า คำนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า “อภิปฺราย”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –
“อภิปฺราย : (คำนาม) นัย; ความตั้งใจ, ความปรารถนา; การย์; ประโยค; ข้อใหญ่ใจความในหนังสือนั้นๆ meaning or sense; intention, wish; purpose; sentence; the main purport of a book”

Read More
บาลีวันละคำ

อธิบาย-อภิปราย (บาลีวันละคำ 586)

อธิบาย-อภิปราย

อ่านว่า อะ-ทิ-บาย / อะ-พิ-ปฺราย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (อ้างบ่อยในนามย่อว่า พจน.42) บอกไว้ว่า –
“อภิปราย : พูดชี้แจงแสดงความคิดเห็น. (ส. อภิปฺราย)”

“(ส. อภิปฺราย)” หมายความว่า คำนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า “อภิปฺราย”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –
“อภิปฺราย : (คำนาม) นัย; ความตั้งใจ, ความปรารถนา; การย์; ประโยค; ข้อใหญ่ใจความในหนังสือนั้นๆ meaning or sense; intention, wish; purpose; sentence; the main purport of a book”

Read More