Month: กุมภาพันธ์ 2014

บาลีวันละคำ

อุกาสะ-โอกาส (บาลีวันละคำ 642)

อุกาสะ-โอกาส

อ่านว่า อุ-กา-สะ / โอ-กาด

“อุกาสะ” เขียนแบบบาลีเป็น “อุกาส” ยังไม่พบคำนี้ในคัมภีร์ แต่ปรากฏในคำที่ผูกขึ้นในชั้นหลัง เช่น คำขอขมา และคำปลงอาบัติของพระสงฆ์เป็นต้น เช่น –

(1) อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต (ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าขอไหว้, ขอท่านได้โปรดขมาโทษทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
(2) อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย (ท่านเห็นว่านั่นเป็นอาบัตินะขอรับ)

Read More
บาลีวันละคำ

ทรชน-ทุรชน (บาลีวันละคำ 641)

ทรชน-ทุรชน

อ่านว่า ทอ-ระ-ชน / ทุ-ระ-ชน
ประกอบด้วย ทร + ชน, ทุร + ชน
บาลีเป็น “ทุชฺชน” อ่านว่า ทุด-ชะ-นะ
ประกอบด้วย ทุ + ชน

“ทร” (ทอ-ระ-) และ “ทุร” (ทุ-ระ-) พจน.42 บอกไว้ดังนี้ –

(1) ทร- คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (บาลี. ทุ, ทุรฺ; สันสกฤต. ทุสฺ).
(2) ทุร- (คำวิเศษณ์) คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลําบาก. (สันสกฤต)

Read More
บาลีวันละคำ

ทุรกันดาร [1] (บาลีวันละคำ 640)

ทุรกันดาร [1]
(บาลีแบบไทย)

อ่านว่า ทุ-ระ-กัน-ดาน
ประกอบด้วย ทุร + กันดาร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

“ทุร- (ทุระ-) คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลําบาก”

Read More
บาลีวันละคำ

ความรัก (บาลีวันละคำ 639)

ความรัก
ภาษาบาลีว่าอย่างไร

บาลีวันละคำวันนี้ขออนุญาตหมุนตามโลกด้วยการเสนอคำบาลีบางคำที่มีความหมายว่า “ความรัก”

(1) “เปม” (เป-มะ) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งความรัก” “ภาวะแห่งความอิ่มเอิบ”
ความหมายที่เข้าใจกันคือ ความรัก, ความเยื่อใย, ความเสน่หา

ในภาษาไทยใช้ว่า “เปรม” อ่านว่า เปฺรม (ปฺร ควบ) พจน.42 บอกไว้ว่า –
เปรม : (คำกริยา) สบาย, รื่นเริง, อิ่มใจ.(คำนาม) ความรัก, ความชอบใจ

Read More
บาลีวันละคำ

ธนาคาร (บาลีวันละคำ 638)

ธนาคาร

อ่านว่า ทะ-นา-คาน
บาลีอ่านว่า ทะ-นา-คา-ระ
ประกอบด้วย ธน + อคาร

“ธน” (ทะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า
– “สิ่งอันผู้คนออกเสียงว่าเป็นของเรา” (คือแสดงความเป็นเจ้าของด้วยความชื่นชม)
– “สิ่งยังภาวะคนจนให้เกิด” (คำแปลนี้ฟังเหมือนขัดแย้ง คือถ้ามี “ธน” ความจนก็จะไม่เกิด แต่มองในมุมกลับก็คือ “ทำให้เกิดคนจนเพราะไม่มีสิ่งนี้”)

Read More
บาลีวันละคำ

สาธิต (บาลีวันละคำ 636)

สาธิต

อ่านว่า สา-ทิด
บาลีอ่านว่า สา-ทิ-ตะ

“สาธิต” เป็นกริยากิตก์ (กิตก์ อ่านว่า กิด เป็นกริยาชนิดหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นคุณศัพท์ได้ด้วย) รากศัพท์มาจาก สาธ (ธาตุ = สำเร็จ) + อิ อาคม + ต ปัจจัย

: สาธ + อิ = สาธิ + ต = สาธิต แปลตามศัพท์ว่า “ให้สำเร็จแล้ว” หมายถึง ถูกทำให้สำเร็จ, สิ่งที่ถูกทำสำเร็จแล้ว

Read More
บาลีวันละคำ

สัตยาบัน (บาลีวันละคำ 635)

สัตยาบัน

อ่านว่า สัด-ตะ-ยา-บัน

พจน.42 บอกว่า “สัตยาบัน” มาจากคำสันสกฤต สตฺย + อาปนฺน

“สตฺย” ภาษาไทยใช้ว่า สัตย-, สัตย์ พจน.42 บอกไว้ว่า –

“สัตย-, สัตย์ : (คำนาม) ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ.(คำวิเศษณ์) จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง”

Read More
บาลีวันละคำ

โมฆียะ (บาลีวันละคำ 634)

โมฆียะ

อ่านว่า โม-คี-ยะ
รากศัพท์ประกอบด้วย โมฆ + อีย ปัจจัย

“โมฆ” แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่หลงลืม” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง เปล่า, ว่าง, ไร้ประโยชน์, ไม่บรรลุผลดังที่ประสงค์ (ดูเพิ่มเติมที่ “โมฆะ” บาลีวันละคำ (632) 6-2-57)

Read More
บาลีวันละคำ

พุทธะอิสระ (บาลีวันละคำ 633)

พุทธะอิสระ
(ชื่อเฉพาะ)

อ่านว่า พุด-ทะ-อิด-สะ-ระ
ประกอบด้วย พุทธะ + อิสระ

“พุทธะ” บาลีเขียน “พุทฺธ” (มีจุดใต้ ทฺ ทหาร) อ่านว่า พุด-ทะ เป็นคำกริยา แปลว่า “รู้แล้ว” เป็นคุณศัพท์แปลว่า ผู้รู้, ผู้ตื่น, ผู้เบิกบาน เป็นคำนาม แปลว่า “พระพุทธเจ้า”

Read More